Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68831
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชไมพร ปินใจ | en_US |
dc.contributor.author | เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล | en_US |
dc.contributor.author | ทรียาพรรณ สุภามณี | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-06-10T07:12:31Z | - |
dc.date.available | 2020-06-10T07:12:31Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 313-323 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240758/164086 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68831 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | พฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้องค์การเกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์นวัตกรรม ดังนั้นหัวหน้าหอผู้ป่วยจึงควรมีการส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพมีพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็น การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของหัวหน้าหอผู้ป่วย พฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพ และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพจำนวน 352 คน ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปีและสุ่มเลือกมาด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2)แบบสอบถามพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็น และ 3)แบบประเมินการปฏิบัติภาวะผู้นำ ซึ่งแบบสอบถามพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็น และแบบประเมินการปฏิบัติภาวะผู้นำมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .89 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1.พยาบาลวิชาชีพรับรู้ว่าหัวหน้าหอผู้ป่วยมีภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปอยู่ในระดับสูง ( =3.63, SD=.77) พยาบาลวิชาชีพร้อยละ 88 มีพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นในระดับสูงและร้อยละ 12 มีพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นที่ต้องมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นในระดับปานกลางถึงระดับต่ำ 2.การรับรู้ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของหัวหน้าหอผู้ป่วยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพ (rs = .239, p < .01)ผลการศึกษานี้ทำให้ผู้บริหารทางการพยาบาลมีความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพฤติกรรมแสดงความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพ และมีข้อเสนอแนะให้หัวหน้าหอผู้ป่วยควรต้องมีภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปเพื่อจะได้นำไปใช้ในการจูงใจให้ผู้ตามมีการแสดงความคิดเห็นที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง Voice behavior of employees is a vital factor to facilitate changes and to create innovation in an organization. Therefore, head nurses should motivate Registered Nurses to have voice behavior. The purposes of this descriptive correlational study were to explore the perceived transformational leadership of head nurses, the level of voice behavior among nurses and the relationship between perceived transformational leadership and voice behavior among nurses in University Hospitals Northern Region. The sample consisted of 352 Registered Nurses who have at least one year of experience were chosen by stratified random sampling. The study instrument used was a questionnaire that included three parts: 1) demographic data questionnaire, 2) voice behaviors questionnaire, and 3) Leadership Practices Inventory. The Cronbach’ alpha coefficients of the voice behaviors questionnaire and the Leadership Practices Inventory were .89 and .88, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman’s rank-order correlation. The study results were as follows 1.Registered Nurses perceived the transformational leadership of head nurses at a high level ( = 3.63, SD = .77). About 88 % of registered nurses had a high level of voice behavior, whereas approximately 12% of the nurses had to improve their voice behavior. 2.Perceived head nurses’ transformational leadership had a positive correlation with voice behaviors (rs = .239, p < .01) The results of this study could help nurse managers to understand the association between perceived head nurses’ transformational leadership and voice behavior among registered nurses. It is recommended that transformational leadership should be a requirement of head nurses to practice in order to motivate followers to voice their suggestions for changes. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมการแสดงความคิดเห็น | en_US |
dc.subject | พยาบาลวิชาชีพ | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | หัวหน้าหอผู้ป่วย | en_US |
dc.title | ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็น ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เขตภาคเหนือ | en_US |
dc.title.alternative | Head Nurses’ Transformational Leadership and Registered Nurses’ Voice Behaviors, University Hospitals, Northern Region | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.