Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68830
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบังอร เขื่อนคำen_US
dc.contributor.authorสมใจ ศิระกมลen_US
dc.contributor.authorบุญพิชชา จิตต์ภักดีen_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:31Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:31Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 337-349en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240762/164088en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68830-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการบริการสุขภาพให้มีคุณภาพและมีความปลอดภัยซึ่งการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงเป็นขั้นตอนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยง เพื่อการเรียนรู้และหาแนวทางในการจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นนั้นรวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีกการศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานการณ์การรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงและนำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ประชากรที่ศึกษาเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง จำนวน 21ราย รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างการสนทนากลุ่ม และการทบทวนเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาตามกรอบแนวคิดของDonabedian (2003) ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้าง 2) ด้านกระบวนการ และ3) ด้านผลลัพธ์ ผลการศึกษาพบว่า 1.ด้านโครงสร้าง หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 มีนโยบายเกี่ยวกับการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่สอดคล้องกับนโยบายของโรงพยาบาลซึ่งสอดแทรกอยู่ในนโยบายการบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาล ในระดับโรงพยาบาล มีคณะกรรมบริหารความเสี่ยงทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรายงานอุบัติการณ์ ส่วนในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 หัวหน้าหอผู้ป่วย พยาบาลผู้ประสานงานด้านคุณภาพและบุคลากรทุกคนในหอผู้ป่วยมีหน้าที่ในการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง มีสิ่งสนับสนุนการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงได้แก่ เอกสารแบบฟอร์มบันทึกรายงานอุบัติการณ์ และระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับการรายงานอุบัติการณ์ ช่องทางการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง 3 ช่องทางได้แก่ ทางวาจา ทางแบบฟอร์มการรายงานอุบัติการณ์ของโรงพยาบาล และทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ปัญหาด้านโครงสร้างที่พบ คือ มีการสื่อสารนโยบายเกี่ยวกับการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงน้อยเกินไป หัวหน้าหอผู้ป่วยมีภาระงานมากบุคลากรขาดทักษะและประสบการณ์ในการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง และการจัดเก็บเอกสารไม่เอื้อต่อการใช้ ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการทบทวนและพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนโยบายการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงให้มากขึ้นบุคลากรควรได้รับการอบรมเกี่ยวกับการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง และควรมีระบบจัดเก็บเอกสารให้เป็นระเบียบ สะดวกใช้ 2.ด้านกระบวนการ พบขั้นตอนการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงของหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 ที่สอดคล้องกับแนวทางของโรงพยาบาล ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ1)ขั้นตอนการประเมินความระดับรุนแรงของอุบัติการณ์ความเสี่ยง 2)ขั้นตอนการรายงาน 3) ขั้นตอนการบันทึกรายงานและ4) ขั้นตอนการส่งรายงาน ปัญหาที่พบ คือ บุคลากรประเมินระดับความรุนแรง และบันทึกรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงไม่ถูกต้องครบถ้วน การส่งรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงไม่เป็นไปตามเส้นทางเดินของรายงาน และเวลาที่กำหนด ทั้งนี้หัวหน้าหอผู้ป่วย ควรมีการนิเทศติดตามและตรวจสอบเกี่ยวกับกระบวนการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอ ผู้บริหารการพยาบาลควรส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการพยาบาลในด้านความรู้และทักษะในการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง 3.ด้านผลลัพธ์ พบว่า ร้อยละของจำนวนการบันทึกรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง และร้อยละของจำนวนรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่มีความถูกต้องสมบูรณ์ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงของหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผู้บริหารของโรงพยาบาล และผู้บริหารทางการพยาบาลควรนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนากลยุทธ์ในการพัฒนาการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงของหอผู้ป่วย และโรงพยาบาลต่อไป Risk management is an important tool for managing the quality and safety of healthcare service. Incident reporting is a step of risk management process for gaining lessons learned and ways to address and prevent risks. This descriptive study sought to describe the situation of incident reporting and to propose ways to solve incident reporting problems at the Medical Intensive Care Unit 1 at Nakornping Hospital, Chiang Mai Province. The study population included 21 registered nurses involved in reporting incidence. The data were collected using semi-structured interviewing, focus group discussion, and document review. Data were analyzed using content analysis according to the conceptual framework of Donabedian (2003)’s quality assessment which includes:1) structural aspect, 2) processing aspect, and 3) outcome aspect. The study results were as follows: 1.Structure. The Medical Intensive Care Unit (ICU) had policies regarding incident reporting which were consistent with those of the hospital that were integrated into the hospital risk policies. At the hospital level, the hospital risk management committee was responsible for incident reporting. However, for the Medical ICU, the head nurse, nurse coordinator for quality assurance at the unit, and all personnel were responsible for reporting risk incidents. Items that supported incident reporting were the incident report recording form, a computer, as well as an information technology system for incident reporting. Ways to report incidents included verbal reports, submitting the form, and reporting through the computer program. Problems identified were: insufficient communication regarding the incidence reporting policy; overwork load for the head nurse; lack of skills and experience in incident reporting among the personnel; and the filing system was not convenient to use. Suggestion included: discussion and sharing experiences regarding the incident reporting policy; personnel should be trained on incident reporting; and the unit should organize the filing system. 2.Process. It was revealed that the incident reporting process corresponded to the hospital's process which consisting of 4 steps: 1) assessing the severity of the incident; 2) reporting incidents; 3) recording; and 4) submitting the report. The following problems were found: nursing personnel assessed the severity of incidents incorrectly and incident reporting was incomplete and inaccurate. Submitting the incident report was not in accordance with the guide to submit the report in both paths and the time frame. Therefore, the head nurse should monitor and supervise her staff about the incident reporting process closely. Nurse administrators should support the development of personnel’s competencies regarding their knowledge and skills of incident reporting. 3.Outcome. It was found that the percentage of incident reporting and of reports that were recorded correctly were low. The results of this study could provide the hospital and nurse administrators with basic information about incident reporting in Medical Intensive Care Unit 1 at Nakornping Hospital, Chiang Mai Province. They could apply these findings to generate the strategies for improving incident reporting in the Medical Intensive Care Unit 1 and in the hospital, accordingly.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการวิเคราะห์สถานการณ์en_US
dc.subjectการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงen_US
dc.titleการวิเคราะห์สถานการณ์การรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeSituational Analysis of Incident Reporting in Medical Intensive Care Unit 1 Nakornping Hospital, Chiang Mai Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.