Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68828
Title: | ผลของโปรแกรมการบำบัดด้วยการแก้ปัญหาต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม |
Other Titles: | Effect of Problem Solving Therapy Program on Depression among Patients with End Stage Renal Disease Receiving Hemodialysis. |
Authors: | นัฎกานต์ มันตะสูตร สมบัติ สกุลพรรณ์ ดาราวรรณ ต๊ะปินตา |
Authors: | นัฎกานต์ มันตะสูตร สมบัติ สกุลพรรณ์ ดาราวรรณ ต๊ะปินตา |
Keywords: | การบำบัดด้วยการแก้ปัญหา;ภาวะซึมเศร้า;ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 301-312 |
Abstract: | ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดด้วยการแก้ปัญหาต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ผู้ร่วมวิจัย 32 คน เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพุทธชินราช โรงพยาบาลรวมแพทย์และโรงพยาบาลอินเตอร์เวชการ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย ฉบับภาษาไทย และโปรแกรมการบำบัดด้วยการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่มเป็นอิสระต่อกัน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดด้วยการแก้ปัญหาต่อภาวะซึมเศร้ามีภาวะซึมเศร้าในระยะติดตามผลการทดลอง 2 สัปดาห์ (x̄= 5.68, SD=2.38) ลดลงกว่าในระยะหลังสิ้นสุดการทดลองทันที (x̄=7.00, SD=2.00) และลดลงกว่าในระยะก่อนการทดลอง (x̄=10.87, SD=3.59) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดด้วยการแก้ปัญหาต่อภาวะซึมเศร้ามีภาวะซึมเศร้า (x̄= 5.68, SD = 2.38) ลดลงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะติดตามผลการทดลอง 2 สัปดาห์ (x̄ = 9.25, SD = 3.76) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการบำบัดด้วยการแก้ปัญหาต่อภาวะซึมเศร้าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้สำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่จะสามารถนำไปใช้ลดภาวะซึมเศร้าในระดับเล็กน้อยและปานกลาง ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Depression is a common mental health problem for patients with end-stage renal disease receiving hemodialysis. The study was a randomized controlled trial experimental research that aimed to investigate the effects of a problem-solving therapy program on depression among patients with end-stage renal disease receiving hemodialysis. Thirty two participants were patients who had been diagnosed with chronic kidney disease receiving hemodialysis and received services from Buddhachinaraj Hospital, Ruamphat Hospital and Inter Vejchakan Hospital from January to June 2017. The instruments consisted of Patient Health Questionnaire (PHQ-9) Thai version and Problem Solving Therapy Program. Data were analyzed by descriptive statistics means, t-test independent and one-way repeated measure analysis of variance. Result: Participants in the experimental group right after receiving the problem-solving therapy program had a post-test depression score of x̄= 7.00, SD = 2.00. Two weeks later they had a lower depression score of x̄= 5.68, SD = 2.38. Both these scores were statistically significantly (p< .05) lower than their pre-test depression score of x̄= 10.87, SD = 3.59. Participants in the experimental group two weeks after receiving the problem-solving therapy program had a depression score of x̄=5.68, SD=2.38 which is statistically significantly (p< .05) lower than the depression score of the control group which was x̄= 9.25, SD = 3.76. The results of the study indicated that problem-solving therapy program could be used as an alternative way for hospital personnel to reduce mild and moderate depression among patients with end stage renal disease receiving hemodialysis. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240757/164085 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68828 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.