Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68825
Title: การเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ: กรณีศึกษา
Other Titles: Empowerment in Persons Undergone Coronary Artery Bypass Grafting: A Case Study
Authors: ลาลิน เจริญจิตต์
ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์
เบญจมาศ สุขสถิตย์
Authors: ลาลิน เจริญจิตต์
ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์
เบญจมาศ สุขสถิตย์
Keywords: การเสริมสร้างพลังอำนาจ;การรับรู้พลังอำนาจ;พฤติกรรมสุขภาพ;โรคหลอดเลือดหัวใจ;การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 242-254
Abstract: ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจมักมีการปฏิบัติพฤติกรรมไม่ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและมีการกลับเป็นซ้ำได้ การเสริมสร้างพลังอำนาจน่าจะช่วยให้บุคคลดังกล่าวมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม การศึกษาแบบกรณีศึกษาที่มีการจัดกระทำครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและผลลัพธ์ของการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจไปแล้ว 2 สัปดาห์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 5 ราย ส่งเสริมการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพภายใต้กรอบแนวคิดกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจของ Gibson (1993) 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การค้นพบสถานการณ์ความเป็นจริง ขั้นตอนที่ 2 การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ ขั้นตอนที่ 3 การลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสม และขั้นตอนที่ 4 การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ คู่มือสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ คู่มือสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ แบบบันทึกพฤติกรรมของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ และเครื่องบันทึกเสียง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ และแบบวัดการรับรู้พลังอำนาจในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1.กระบวนการที่ใช้สนับสนุนกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจมีทั้งหมด 7 กระบวนการ ได้แก่ การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดี การใช้เทคนิคคำถาม การสอนรายบุคคล การฝึกทักษะโดยการสาธิตและสาธิตย้อนกลับการทวนเนื้อหาซ้ำ การชื่นชมและให้กำลังใจ และการเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ 2.ผลลัพธ์จากการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ ได้แก่ -ด้านการรับรู้พลังอำนาจ กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้พลังอำนาจเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการ เสริมสร้างพลังอำนาจ -ด้านพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพหลังได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจดีกว่าก่อนได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ ผลการศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า การเสริมสร้างพลังอำนาจผ่านการใช้กระบวนการทั้ง 7 ประการสามารถส่งเสริมให้ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจเกิดผลลัพธ์ที่ดี ดังนั้นการสนันสนุนให้ พยาบาลมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถเสริมสร้างพลังอำนาจโดยการใช้กระบวนการทั้ง 7 ประการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งเสริมให้ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจมีการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม รวมถึงส่งเสริมให้พยาบาลพัฒนาคุณภาพของการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น People who underwent coronary artery bypass grafting usually behave inappropriately after being discharged and this may lead to complications and the recurrence of the disease. Empowerment may help them to have appropriate health behaviors. The objectives of this intervention case study research were to study the process and outcomes of empowering people who underwent coronary artery bypass grafting. A purposive sampling of five persons with coronary artery disease who underwent coronary artery bypass graft surgery for two weeks. Health behaviors were promoted based on a conceptual framework of the Gibson’s empowerment process (Gibson, 1993), including four steps: 1) discovering reality, 2) reflecting critically, 3) taking charge, and 4) holding on. The research instruments consisted of the empowering process guidelines for persons who underwent coronary artery bypass grafting, the manual for persons with coronary artery disease, the manual for persons who underwent coronary artery bypass grafting, behaviors recording form for persons who underwent coronary artery bypass grafting, and audiotape. The instruments used for collecting data consisted of the demographic data record form, the health behaviors of persons who underwent CABG questionnaire, and the sense of power in persons who underwent CABG questionnaire. Data were analyzed by content analysis. The results of the study revealed that: 1.The process of empowerment composed of seven processes which are an establishment a good rapport, to use of questioning technique, individualized instruction, skills training through the demonstration and return demonstration, content review, admiring and encouraging, and continues caring. 2.There are two outcomes from receiving empowerment 2.1 Perception of power: the participants had a greater sense of power than that of before. 2.2 Health behaviors: the participants practice better health behaviors than that of before. The results from this study revealed that empowering persons who underwent coronary artery bypass grafting by utilizing 7 processes yielded positive outcomes. Therefore, encouraging nurses to gain knowledge and understanding of empowerment and be able to empower clients is crucial to support persons who underwent coronary artery bypass grafting to perform appropriate health behaviors, along with to enhance quality of nursing care.
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240752/164079
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68825
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.