Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68824
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อมรรัตน์ อินทรชื่น | en_US |
dc.contributor.author | อะเคื้อ อุณหเลขกะ | en_US |
dc.contributor.author | วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-06-10T07:12:31Z | - |
dc.date.available | 2020-06-10T07:12:31Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 151-163 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240740/164068 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68824 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | การทำความสะอาดมือเป็นวิธีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ได้ผลดีที่สุด ผู้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยอาจได้รับเชื้อและนำเชื้อจากโรงพยาบาลไปสู่ชุมชน ผู้เข้าเยี่ยมจึงจำเป็นต้องทำความสะอาดมืออย่างถูกต้อง การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติและความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการทำความสะอาดมือของผู้เข้าเยี่ยม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม ศัลยกรรมและกุมารเวชกรรมในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2558 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2559 จำนวน 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วยคำถาม 4 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าเยี่ยม ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการทำความสะอาดมือของผู้เข้าเยี่ยม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาในส่วนของความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติ 0.95, 0.98 และ 1 ตามลำดับ ผลการทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติ ได้ค่า 0.76, 0.78 และ 0.74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 71.5 มีอายุตั้งแต่ 18-66 ปี อายุเฉลี่ย 36.7 ปี จบชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาร้อยละ 32 และ 46.5 ตามลำดับ เข้าเยี่ยมผู้ป่วยตั้งแต่ 2-42 ครั้ง เป็นบุตรและเป็นบิดามารดาของผู้ป่วยร้อยละ 47.8 และ 23.3 ตามลำดับ เคยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการทำความสะอาดมือร้อยละ 78.5 ได้รับข้อมูลจากพยาบาลร้อยละ 61.5 ได้รับข้อมูลจากโปสเตอร์ร้อยละ 42.4 ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการทำความสะอาดมืออยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 35.5 มีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 43.9 และ 20.6 มีความรู้อยู่ในระดับปานกลางและระดับต่ำ มีทัศนคติอยู่ในระดับดีและปานกลางร้อยละ 48.7 และ 49.6 ตามลำดับ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับสูงร้อยละ 41.2 ระดับปานกลางและระดับต่ำร้อยละ 21.5 และ 37.3 ตามลำดับ ความรู้และทัศนคติในการทำความสะอาดมือของผู้เข้าเยี่ยม มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .375, p<.01) ความรู้และทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการทำความสะอาดมือของผู้เข้าเยี่ยม การส่งเสริมให้ผู้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยมีความรู้ที่ถูกต้อง สร้างความตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการทำความสะอาดมือ และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติในการทำความสะอาดมืออย่างถูกต้องขณะเข้าเยี่ยมผู้ป่วยเป็นสิ่งจำเป็นที่โรงพยาบาลควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล จากผู้เข้าเยี่ยม และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโดยเฉพาะเชื้อดื้อยาจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน Hand hygiene is the most effective measure in prevention of microorganism transmission and hospital-associated infections. When people visit the hospital, they can acquire and transmit microorganisms from the hospital to the community. It is necessary that visitors practice correct hand hygiene while visiting patients. This descriptive study aimed to determine knowledge, attitude, and practices in hand hygiene among visitors and determine the correlation between knowledge, attitude, and practices in hand hygiene of visitors. Samples included 228 visitors of patients who were admitted in medical, surgical, and pediatric intensive care units of a general hospital from November 2015 to April 2016. The study instrument used was a four-part questionnaire developed by the researcher which consisted of general information of visitors, knowledge, attitude and practices in hand hygiene. The content validity of questionnaire was assessed by five experts. The content validity index of knowledge, attitude, and practice were 0.95, 0.98 and 1, respectively. The reliability of knowledge, attitude, and practice were 0.76, 0.78 and 0.74, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman rank correlation coefficient. In the study, 71.5% of the participants were female aged between 18 - 66 years old with a mean age of 36.7. Thirty two percent and 46.5% of the participants graduated from elementary and high school respectively. Each participant was visited 2 - 42 times. Forty seven point eight and 23.3% of participants were either the children of patients or the parents of patients, respectively. Seventy eight point five percent of participants used to obtain hand hygiene knowledge, 61.5% obtained from nurses and 42.4% from posters. Knowledge, attitude and practices in hand hygiene of all participants were at a moderate level. Thirty five point five percent of samples had a high level of hand hygiene knowledge, 43.9% had a moderate level and 20.6% had a low level, respectively. Forty eight point seven percent and 49.6% had good and moderate attitude toward hand hygiene. Forty one point two percent of samples practiced a high level of hand hygiene, 21.5% and 37.3% practiced a moderate level and a low level, respectively. Knowledge and attitude in hand hygiene of participants were significantly positive correlated at low level (r = .357, p < .01). Knowledge and attitude did not correlate with hand hygiene practices among participants. Promoting visitors to obtain accurate knowledge, creating an awareness of the importance and advantages of hand hygiene and promoting appropriate hand hygiene practices while visiting patients is necessary for hospitals to implement continuously in order to prevent visitors from transmitting microorganisms, especially multidrug resistant organisms, in hospitals and to the community. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ความรู้ | en_US |
dc.subject | ทัศนคติ | en_US |
dc.subject | การปฏิบัติ | en_US |
dc.subject | การทำความสะอาดมือ | en_US |
dc.subject | ผู้เข้าเยี่ยม | en_US |
dc.title | ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการทำความสะอาดมือของผู้เข้าเยี่ยม ในหอผู้ป่วยหนัก | en_US |
dc.title.alternative | Knowledge, Attitude and Practices of Hand Hygiene Among Visitors in Intensive Care Unit | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.