Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68823
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | จารวี คณิตาภิลักษณ์ | en_US |
dc.contributor.author | ทศพร คำผลศิริ | en_US |
dc.contributor.author | ลินจง โปธิบาล | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-06-10T07:12:31Z | - |
dc.date.available | 2020-06-10T07:12:31Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 222-230 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240796/164115 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68823 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดในผู้สูงอายุทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อการทำหน้าที่ของร่างกาย และอาจทำให้เกิดปัญหาทางจิตใจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองไม่มีพลังอำนาจในการควบคุมหรือจัดการกับการเจ็บป่วยและความพิการของตนเองได้ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง ดังนั้นเพื่อให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองดีขึ้นจึงต้องมีการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้สูงอายุกลุ่มนี้การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจกับกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 88 ราย สุ่มโดยใช้การสุ่มแบบบล็อกเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 44 ราย ซึ่งทั้งสองกลุ่มได้รับการวัดคุณภาพชีวิตโดยใช้ Stroke impact scale (SIS)โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจตามแนวคิดของกิบสัน (Gibson) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมเสริมสร้างพลังอำนาจ 4 ขั้นตอนได้แก่ 1. การค้นพบสภาพการณ์จริง 2. การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3. การตัดสินใจลงมือปฏิบัติ และ 4. การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1.คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p < .05) 2.คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p < .05) Stroke that occur in an older person directly impacts their functional ability and may cause psychological problems. These consequences often lead to feelings of powerlessness in controlling or managing their symptoms and disability, resulting in decreased quality of life. Thus, to improve quality of life, older persons in this group should be empowered. This experimental research aimed to compare quality of life of the older person with stroke before and after completing the empowerment program and to compare the quality of life of the older person between the groups completing the empowerment program and those who did not participate in the program. Sample group included 88 older persons with stroke. All subjects were randomized by using permuted block design method into an experimental group and a control group. Each group contained 44 persons. Both groups had their quality of life measured using the Stroke impact scale (SIS). The experimental group completed the empowerment program which is based on Gibson’s model, composed of four stages of empowerment activities including: (1) discovering reality, (2) critical reflection, (3) taking charge, and (4) holding on. Data were obtained in eight weeks. Descriptive statistics and t-test were used for data analysis. The results of this study revealed that 1.The quality of life for the older persons with stroke after completing the program was statistically and significantly higher than before at level of p < 0.05 2.After completing the program, the quality of life of older persons with stroke was statistically and significantly higher than that of the group without the program at level of p < 0.05 The results of this study show that the empowerment program can improve the quality of life of older persons with stroke. It can be considered as a useful intervention to improve the quality of life for this group of the older persons. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การเสริมสร้างพลังอำนาจ | en_US |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง | en_US |
dc.title.alternative | The Effect of an Empowerment Program on Quality of Life Among Older Persons with Stroke | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.