Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68820
Title: | ผลของการออกกำลังกายแบบไอเยนกะโยคะต่อความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ |
Other Titles: | Effect of Iyengar Yoga Exercise on Severity of Knee Osteoarthritis Among the Older Persons |
Authors: | อังคณารัชต์ แก้วแสงใส กนกพร สุคำวัง ภารดี นานาศิลป์ |
Authors: | อังคณารัชต์ แก้วแสงใส กนกพร สุคำวัง ภารดี นานาศิลป์ |
Keywords: | การออกกำลังกายแบบไอเยนกะโยคะ;ผู้สูงอายุ;ข้อเข่าเสื่อม |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 175-184 |
Abstract: | โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยและส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพและความผาสุกของผู้สูงอายุ ไอเยนกะโยคะเป็นการออกกำลังกายแบบโยคะชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าสามารถลดความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้ การวิจัยเชิงทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบไอเยนกะโยคะต่อความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มารับการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอกออร์โธปิดิกส์ของโรงพยาบาลในจังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 สุ่มได้โรงพยาบาลเมืองสรวงเป็นกลุ่มทดลอง และโรงพยาบาลโพนทองเป็นกลุ่มควบคุม สุ่มกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์กำหนดเข้ากลุ่มทดลอง 19 คน กลุ่มควบคุม 19 คน รวมจำนวน 38 คน กลุ่มทดลองออกกำลังกายแบบไอเยนกะโยคะนานครั้งละ 60 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้งเป็นเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมให้ออกกำลังกายตามปกติ เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุภายหลังการออกกำลังกายแบบไอเยนกะโยคะลดลงกว่าก่อนการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 2) คะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายแบบไอเยนกะโยคะลดลงกว่ากลุ่มที่ออกกำลังกายตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลจากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายแบบไอเยนกะโยคะสามารถลดความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้ จึงควรนำการออกกำลังกายแบบไอเยนกะโยคะไปใช้ในผู้สูงอายุโรค ข้อเข่าเสื่อมเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคและสร้างเสริมสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง Knee osteoarthritis (knee OA) is a common chronic disease and effects on health and well-being of the older persons. Iyengar Yoga is one kind of yoga exercise that might reduce the severity of knee OA. This two group pre and posttest experimental study aimed to examine the effect of Iyengar Yoga exercise on the severity of knee OA among the older persons. The participants were the older persons with knee OA who received treatment at the Orthopaedic Outpatient Department between January and April 2014. Mueang Suang hospital and Phon Thong hospital were randomly assigned into the experimental and control groups. 38 purposive participants were randomly assigned into the experimental group (n=19) and the control group (n=19). A 60-minute, three-per-week Iyengar Yoga exercise was implemented for 12 weeks as the intervention for the participants in the experimental group. The control group was not given the Iyengar Yoga exercise. The research instruments consisted of the Demographic Data Record Form and The Severity of Knee Osteoarthritis Assessment Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The results of study revealed that 1) mean score of knee OA severity in the older persons after performing Iyengar Yoga exercise were significantly decreased (p< .001) and 2) mean score of knee OA severity in the older persons who performed Iyengar Yoga exercise were significantly decreased in comparison to the control group (p < .001). The results of this study indicate that Iyengar Yoga exercise can alleviate severity of knee OA among older persons. Therefore, this exercise could be applied in additional to the treatment of older persons with knee OA to decrease the severity of the disease, and to promote physical well-being. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240743/164070 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68820 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.