Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68818
Title: | ผลของการสวมหมวกพลาสติกต่ออุณหภูมิกายของทารกเกิดก่อนกำหนด ขณะใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ |
Other Titles: | Effect of Wearing Plastic Cap on Body Temperature Among Preterm Infants During Umbilical Catheterization |
Authors: | วลัยพรรณ โชตวรพันธุ์ จุฑามาศ โชติบาง มาลี เอื้ออำนวย |
Authors: | วลัยพรรณ โชตวรพันธุ์ จุฑามาศ โชติบาง มาลี เอื้ออำนวย |
Keywords: | ทารกเกิดก่อนกำหนด;อุณหภูมิ;หมวกพลาสติก;การใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 113-122 |
Abstract: | ทารกเกิดก่อนกำหนดทารกสูญเสียความร้อนได้ง่ายโดยเฉพาะช่วงการทำหัตถการต่างๆ วัตถุประสงค์ของการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการสวมหมวกพลาสติกต่ออุณหภูมิกายของทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์ 28-36 สัปดาห์ ขณะใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือจำนวน 20 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 10 คนได้รับการสวมหมวกพลาสติกโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูงและมีขอบยางยืดร่วมกับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มควบคุม 10 คน ได้รับกับการพยาบาลตามปกติ ทารกทั้งสองกลุ่มได้รับการวัดอุณหภูมิกายด้วยอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ที่ตำแหน่งหลังใบหูก่อน ทุก 5 นาทีขณะทำหัตถการและหลังเสร็จสิ้นหัตถการแล้วบันทึกด้วยแบบบันทึกการทำหัตถการใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือและแบบสังเกตลักษณะผิวหนังภายหลังถอดหมวกพลาสติก หลังจากเสร็จสิ้นการใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าที 2 กลุ่มเป็นอิสระต่อกัน และสถิติฟิชเชอร์เอกแซคท์ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังเสร็จสิ้นการใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือทารกเกิดก่อนกำหนดในกลุ่มที่ได้รับการสวมหมวกพลาสติกร่วมกับการพยาบาลตามปกติมีอุณหภูมิกายสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) และมีสัดส่วนการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกเกิดก่อนกำหนดขณะใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ ซึ่งจะช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดจากภาวะอุณหภูมิกายต่ำหรือภาวะเครียดจากความเย็นได้ Preterm infants are easily heat loss especially during procedure. The purpose of this quasi-experimental study was to study the effect of wearing a plastic cap on body temperature in 20 preterm infants with 28-36 weeks postconceptional age undergoing umbilical catheterization. Ten infants of an experimental group wore a high-density polyethylene plastic cap and receiving routine care and other infants of a control group received routine care only. Infants of both groups were assessed body temperature at behind ear by an infrared thermometer before, every 5 minutes during umbilical catheterization, and after the procedure. The data were recorded in an umbilical catheterization record form skin record form and analyzed using descriptive statistics, independent t-test and Fisher exact probability test. The study revealed that the experimental group had significantly higher body temperatures (p <.001) and significantly lower proportion of the experimental had hypothermia than the control group following umbilical catheterization (p< .05). The findings of this study could be used as a guide for preventing hypothermia during umbilical catheterization in preterm infants. This will reduce the incidence of hypothermia and cold stress. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240731/164060 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68818 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.