Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68811
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เจษฎาภรณ์ อิกำเหนิด | en_US |
dc.contributor.author | จินดารัตน์ ชัยอาจ | en_US |
dc.contributor.author | วราวรรณ อุดมความสุข | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-06-10T07:12:31Z | - |
dc.date.available | 2020-06-10T07:12:31Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 164-174 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240742/164069 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68811 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งส่งผลกระทบต่อผู้ดูแลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ จนกระทั่งเกิดการรับรู้ว่าเป็นภาระในการดูแลตามมา ดังนั้นการจัดการเพื่อช่วยลดภาระของผู้ดูแลจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสรุปวิธีการและผลลัพธ์ของการลดภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยสืบค้นรายงานการวิจัยเชิงทดลองที่มีการออกแบบโดยมีกลุ่มควบคุมและมีการสุ่มตัวอย่างเข้ารับการทดลองและการวิจัยกึ่งทดลองที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการลดภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้ตีพิมพ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่รายงานไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ถึง 2558 โดยใช้วิธีการทบทวนอย่างเป็นระบบของ Joanna Briggs Institute [JBI] (2014) ประเมินคุณภาพงานวิจัย และสกัดข้อมูลงานวิจัยโดยใช้เครื่องมือที่พัฒนาโดยสถาบันโจแอนนาบริกส์โดยผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษาหลักแยกกันประเมินอย่างอิสระ ผลการสืบค้นพบงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการลดภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและการประเมินคุณภาพงานวิจัยจำนวน 11 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปเชิงเนื้อหาเพื่อจำแนกวิธีการและผลลัพธ์ของการลดภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผลการวิเคราะห์พบว่า วิธีการลดภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง จำแนกได้เป็น 3 วิธี ได้แก่ 1) การสนับสนุนด้วยการให้ความรู้ 2) การให้คำปรึกษาด้านอารมณ์ และ 3) การนวดและการสัมผัสเพื่อบำบัด โดยเป็นการจัดกระทำในโรงพยาบาล หรือการติดตามทางโทรศัพท์ และการเยี่ยมบ้าน สำหรับผลลัพธ์ ส่วนใหญ่พบว่า วิธีการลดภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยการสนับสนุนด้วยการให้ความรู้สามารถช่วยลดภาระของผู้ดูแล ส่วนวิธีการให้คำปรึกษาด้านอารมณ์ และการนวดและการสัมผัสเพื่อบำบัดมีงานวิจัยเพียงวิธีการละหนึ่งเรื่อง จึงไม่สามารถสรุปผลลัพธ์ของการลดภาระของผู้ดูแลได้ การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ ให้ข้อเสนอแนะว่าบุคลากรทางสุขภาพควรมีการช่วยเหลือในการลดภาระของผู้ดูแล โดยการให้ความรู้ร่วมกับการฝึกทักษะในการดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาวิจัยเชิงทดลองเพิ่มเติมหรือทำการศึกษาวิจัยซ้ำ เพื่อยืนยันประสิทธิผลของแต่ละวิธีการในการลดภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง และเพียงพอต่อการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เมตาได้ Caring for cancer patients affects the physical, psychological, social and economic of caregivers, leading to a perceived burden. Therefore, relieving the burden of a caregiver is important. This systematic review aimed to summarize the interventions and outcomes in relieving the burden among caregivers of cancer patients. The search strategy aimed to find published and unpublished randomized controlled trials (RCTs) and quasi-experimental studies either in Thai or English regarding relieving burden interventions of caregivers of cancer patients which were reported between 1995 and 2015. The systematic review was conducted using a systematic guideline developed by the Joanna Briggs Institute (JBI, 2014). All identified studies were independently appraised and extracted by the researcher and major advisor using standardized tools developed by the Joanna Briggs Institute. The systematic search identified a total of eleven studies met the inclusion criteria and the critical appraisal criteria. Narrative summarization was used to identify the relieving burden interventions and their effectiveness. The relieving burden interventions among cancer patients’ caregivers could be classified into three categories including 1) educational support 2) emotionally focused therapy and 3) massage therapy and healing touch, which were held in a hospital or with telephone follow up and home visits. For the results, the educational support intervention was effective in relieving caregivers’ burden, however, emotionally focused therapy and massage therapy and healing touch were found in one single study that could not identify their effectiveness on the caregivers’ burden. This systematic review recommends that health personnel can relieve the burden of caregivers by providing skill training as well as educational support. However, additional experimental research and replicating of primary research is needed. This will confirm the effects of each intervention in relieving burden among caregivers of cancer patients and the data will be adequate for meta-analysis. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ภาระของผู้ดูแล | en_US |
dc.subject | โรคมะเร็ง | en_US |
dc.subject | การทบทวนอย่างเป็นระบบ | en_US |
dc.title | การลดภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง: การทบทวนอย่างเป็นระบบ | en_US |
dc.title.alternative | Relieving the Burden Among Caregivers of Cancer Patients: A Systematic Review | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.