Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68809
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณัฐวิภา บุญเกิดรัมย์en_US
dc.contributor.authorวิลาวัณย์ พิเชียรเสถียรen_US
dc.contributor.authorพิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่นen_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:31Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:31Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 123-137en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240732/164061en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68809-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มในโรงพยาบาลก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วย รวมทั้งบุคลากรสุขภาพ โรงพยาบาล ชุมชน และประเทศชาติ การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการดูแลทางคลินิกสำหรับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาหลายกลุ่ม ในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลศูนย์ ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2559กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสุขภาพที่ปฏิบัติงานในแผนกอายุรกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 131 คน และทดลองใช้แผนการดูแลทางคลินิกกับกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรือสงสัยว่าติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม จำนวน 10 คน การพัฒนาแผนการดูแลทางคลินิกใช้แนวคิดของ Cheah (2000) 3 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ การออกแบบแผนการดูแลทางคลินิก และการทดลองใช้แผนการดูแลทางคลินิก เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรสุขภาพต่อความเป็นไปได้ในการใช้แผนการดูแลทางคลินิก ซึ่งตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการจัดกลุ่มคำตอบ ผลการวิจัยพบว่า แผนการดูแลทางคลินิกสำหรับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มในโรงพยาบาล ประกอบด้วย การคัดกรอง การใช้หลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางการสัมผัส การสวมผ้าปิดปากปิดจมูก การทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยด้วย 2% คลอเฮ็กซิดีน กลูโคเนต การทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม การแจ้งเตือนบุคลากรสุขภาพ การส่งต่อระหว่างหน่วยงาน การเฝ้าระวังเชิงรุกและการระมัดระวังความผิดพลาดในการให้ยาและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าแผนการดูแลทางคลินิกนี้มีความชัดเจน สะดวก ปฏิบัติได้ง่าย และเหมาะสมในการใช้ปฏิบัติในหน่วยงาน การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้นำแผนการดูแลทางคลินิกสำหรับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มนี้ไปใช้ในโรงพยาบาลต่อไป Transmission of multidrug-resistant organisms in hospitals has a direct impact on patients, health care personnel, the hospital, community, and the nation. This developmental research aimed to develop a clinical pathway for prevention and control of multidrug-resistant organism transmission in the medical department at a regional hospital during October 2015 to January 2016. Study samples included 131 health care personnel who worked in the medical department and related units. Ten patients infected or suspected of multidrug-resistant organism infection and admitted at the medical department were included in the test using the clinical pathway implementation process. The process for developing the clinical pathway was based on the framework of Cheah. Three development steps were included: 1) assessing and analyzing the situation, 2) designing the clinical pathway, and 3) testing the implementation of clinical pathway. The data collection instruments consisted of a demographic data record form and questionnaire assessing the opinions of health care personnel towards the use of the clinical pathway. The content validity of the questionnaire was examined by 5 experts and the content validity index was .90. Data were analyzed using descriptive statistics and data categorization. The results revealed that the clinical pathway for prevention and control of multidrug-resistant organisms included: screening, using contact precautions, wearing masks, cleaning patients’ bodies with 2% Chlorhexidine gluconate, cleaning the environment, reminding the health care personnel, proper transfer of patient between units, active surveillance, and being careful of medical errors and adverse events. Most health care personnel agreed that this clinical pathway was clear, convenient, practical and appropriate for implementation in their units. This research suggests that this clinical pathway for prevention and control of multidrug-resistant organisms should be routinely implemented in the hospital.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแผนการดูแลทางคลินิกen_US
dc.subjectการป้องกันและควบคุมen_US
dc.subjectการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มen_US
dc.subjectโรงพยาบาลen_US
dc.titleการพัฒนาแผนการดูแลทางคลินิกสำหรับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจาย ของเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มในโรงพยาบาลen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Clinical Pathway for Prevention and Control of Multidrug-Resistant Organisms Transmission in Hospitalen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.