Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68802
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอรวรรณ ฤทธิ์มนตรีen_US
dc.contributor.authorปิยะนุช ชูโตen_US
dc.contributor.authorพรรณพิไล ศรีอาภรณ์en_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:31Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:31Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 56-65en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240726/164055en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68802-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับน้ำหนักตัว ภาพลักษณ์และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 194 ราย เป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายปกติก่อนการตั้งครรภ์ และมีอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ณ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ระหว่างเดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ที่ อรวรรณ ฤทธิ์มนตรี ปิยะนุช ชูโต และ พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ ที่สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และแบบวัดการรับรู้ภาพลักษณ์ของ Souto & Garcia (2002) ฉบับแปลและดัดแปลงเป็นภาษาไทยโดย Sarit-apirak (2008) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า 1.สตรีตั้งครรภ์มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับน้ำหนักตัวเท่ากับ 20.24 (S.D.= 4.83) ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับน้ำหนักตัวอยู่ในระดับดี ร้อยละ 81.44 และมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาพลักษณ์ระหว่างตั้งครรภ์ เท่ากับ 87.35 (S.D. = 12.88) มีการรับรู้ภาพลักษณ์(โดยรวม) อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 56.19 2. สตรีตั้งครรภ์มีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์เท่ากับ 12.76 กิโลกรัม (S.D.=4.50) 3.ความรู้เกี่ยวกับน้ำหนักตัวมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ (r = -.315, p < .01) 4.ภาพลักษณ์มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ (r = -.143, p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับความรู้เกี่ยวกับน้ำหนักตัว ภาพลักษณ์และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์เพื่อให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์ให้มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม Gestational weight gain affects maternal health and fetal outcomes. The purpose of this descriptive correlational research was to examine whether there was a relationship between knowledge of body weight, body image, and gestational weight gain among pregnant women. The study sample consisted of one hundred and ninety-four participants, all of whom were pregnant women who had normal pre-pregnancy body mass index, and had gestational age of 36 weeks and selected by purposive sampling. The participants were taken from the antenatal clinics at Maharaj Nakhonsithammarat Hospital from September to November 2013. The research instruments used were Knowledge of Weight Gain Evaluation questionnaire, developed by Ritmontree, Xuto, & Sriarporn, based on the literature reviewed; and the Body Image Rating Scale, developed by Souto & Garcia (2002) which was translated and adapted into the Thai language by Sirirat Sarit-apirak (Sarit-apirak, 2008). Descriptive statistics and the Spearman rank order correlation coefficient were used to analyze the data. Results of the study revealed that: 1.The mean score of knowledge of body weight was 20.24 (S.D.= 4.83). There was 81.44% of participants having good knowledge of weight gain. The mean score of body image was 87.35 (S.D. = 12.88). There was 56.19% of participants having moderate perception of body image. 2.The mean score of gestational weigh gain was 12.76 kilogram (S.D.=4.50) . 3.There was a significant moderate negative correlation between Knowledge of weight gain and gestational weight gain among pregnant women (r = -.315, p < .01). 4. There was a significant low negative correlation between body image and gestational weight gain among pregnant women (r = -.143, p < .05). These findings could be used to enhance knowledge of weight gain, body image, and gestational weight gain among pregnant women, and to advise pregnant women on appropriate weight gain.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความรู้เกี่ยวกับน้ำหนักตัวen_US
dc.subjectภาพลักษณ์en_US
dc.subjectน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์en_US
dc.subjectสตรีตั้งครรภ์en_US
dc.titleความรู้เกี่ยวกับน้ำหนักตัว ภาพลักษณ์และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์en_US
dc.title.alternativeKnowledge of Body Weight, Body Image and Gestational Weight Gain Among Pregnant Womenen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.