Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68801
Title: ผลของโปรแกรมการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับพยาบาลวิชาชีพในภาคเหนือของประเทศไทย
Other Titles: Effects of a Breastfeeding Promotion, Support, and Protection Program for Registered Nurses in the Northern Thailand
Authors: กรรณิการ์ กันธะรักษา
มาลี เอื้ออำนวย
สุสัณหา ยิ้มแย้ม
นันทพร แสนศิริพันธ์
บังอร ศุภวิทิตพัฒนา
นงลักษณ์ เฉลิมสุข
ปรียกมล เลิศตระการนนท์
Authors: กรรณิการ์ กันธะรักษา
มาลี เอื้ออำนวย
สุสัณหา ยิ้มแย้ม
นันทพร แสนศิริพันธ์
บังอร ศุภวิทิตพัฒนา
นงลักษณ์ เฉลิมสุข
ปรียกมล เลิศตระการนนท์
Keywords: โปรแกรม;การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่;พยาบาลวิชาชีพ;ความรู้;ทัศนคติ
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 1-12
Abstract: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์ทั้งต่อลูกและแม่ รวมทั้งสังคมและประเทศชาติ เพราะเป็นการเริ่มต้นสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพของประชากรของประเทศ สำหรับประเทศไทยแม้จะมีการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาเป็นเวลานาน แต่สถิติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวยังคงต่ำกว่าของประเทศอื่น ๆ พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำหรับพยาบาลวิชาชีพในภาคเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 66 ราย ที่ทำงานเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลของรัฐ ในภาคเหนือของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ไม่มีการคำนวณขนาด ของกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพที่มาเข้ารับโปรแกรมการอบรม ซึ่งเป็นจำนวนของกลุ่มเป้าหมายการอบรมของแหล่งทุนและสภาการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัยได้แก่ คู่มือวิทยากรแกนนำเครือข่ายการอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับพยาบาลวิชาชีพ และสื่อ การสอนของคณะผู้จัดทำคู่มือและสื่อการอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร่วมกับอาจารย์จากคณะพยาบาลศาสตร์ 5 มหาวิทยาลัย เครื่องมือรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบสอบถามความรู้ของพยาบาลในการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของ Sangperm (2014a) และ 2) แบบสอบถามทัศนคติของพยาบาลในการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของ Sangperm (2014b)วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1.หลังสิ้นสุดโปรแกรมการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คะแนนเฉลี่ยความรู้ และทัศนคติของพยาบาลวิชาชีพ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2.หลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือนคะแนนเฉลี่ยความรู้ และทัศนคติของพยาบาลวิชาชีพ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้ และทัศนคติ ของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อให้มีความสามารถในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป Breastfeeding has benefits to both child and mother, including benefits to society and nation as it is an initiation of health promotion and improving the quality of life for the population. In Thailand, breastfeeding has been promoted for a longer period of time but the exclusive breastfeeding rate is still lower than other countries. Nurses play an important role in the breastfeeding promotion, support, and protection. This quasi-experimental research using one group pretest-posttest design aimed to examine the effects of a breastfeeding promotion, support, and protection program for registered nurses in Northern Thailand. The participants were 66 registered nurses working in public hospitals located in Northern Thailand whose practices were relevant to breastfeeding. A total of 66 registered nurses participating in the training program were included in this study without sample size calculation as it was the target number of participants defined by the grantor and the Thailand Nursing and Midwifery Council. The research instruments consisted of a manual for trainers and additional materials which were created by a production team and nursing instructors from five universities. The data collection tools consisted of 1) the questionnaire assessing nurses' knowledge of breastfeeding promotion, support, and protection produced by Parnnarat Sangperm (2014) and 2) the questionnaire assessing nurses’ attitude of breastfeeding promotion, support, and protection produced by Parnnarat Sangperm (2014). Data were analyzed using descriptive statistics and repeated measures of ANOVA. The results of study showed that: 1.Immediately after attending the program, the mean knowledge score and the mean attitude score of the registered nurses was significantly higher than that of before attending the program (p < 0.05). 2.At 6 months after attending the program, the mean knowledge score and the mean attitude score of the registered nurses was significantly higher than that of before attending the program (p < 0.05). The findings of this study reveals that breastfeeding promotion, support, and protection program can be used as guidelines for the improvement of nurses’ knowledge and attitude in order to enhance the competency in the promotion of breastfeeding.
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240720/164050
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68801
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.