Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68796
Title: | การพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ หอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก |
Other Titles: | Quality Improvement of Discharge Planning for Patients with Head and Neck Cancer, Eye Ear Nose and Throat Ward, Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital |
Authors: | ฉวีวรรณ เกตุน้อย กุลวดี อภิชาตบุตร บุญพิชชา จิตต์ภักดี |
Authors: | ฉวีวรรณ เกตุน้อย กุลวดี อภิชาตบุตร บุญพิชชา จิตต์ภักดี |
Keywords: | การพัฒนาคุณภาพ;การวางแผนจำหน่าย;ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 417-426 |
Abstract: | การวางแผนการจำหน่ายเป็นการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนออกจากโรงพยาบาลเพื่อให้ได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยจักษุ โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โดยใช้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพพีดีซีเอ (PDCA) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพจำนวน 19 คน ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการผ่าตัดจำนวน 23 คน และผู้ดูแลจำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาได้แก่ 1) แนวคำถามในการประชุมกลุ่มทีมสหสาขาวิชาชีพเกี่ยวกับปัญหาในการวางแผนการจำหน่าย 2) แนวคำถามในการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ดูแลเกี่ยวกับความต้องการในการจำหน่าย 3) แนวคำถามเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะของการวางแผนจำหน่าย 4) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลของผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ประยุกต์จากแบบสอบถามของ Deawsurintr (1999) 5) แบบสังเกตการปฏิบัติตามการวางแผนการจำหน่ายของทีมสหสาขาวิชาชีพ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล และ 7) แบบประเมินความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพต่อแผนการจำหน่าย ซึ่งผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นและได้รับการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงตามสูตรคูเดอร์- ริชาร์ดสัน (KR-20) ของแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลของผู้ป่วยและผู้ดูแลเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย ผลการศึกษาพบว่าทีมสหสาขาวิชาชีพส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติตามแผนการจำหน่ายผู้ป่วยได้ถูกต้องครบถ้วนมากกว่าร้อยละ 80 ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอและผู้ดูแลส่วนใหญ่มีความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลได้อย่างถูกต้องครบถ้วนมากกว่าร้อยละ 90 ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการวางแผนจำหน่ายในระดับมากร้อยละ 69.57 และระดับมากที่สุดร้อยละ 30.43 ทีมสหสาขาวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการวางแผนการจำหน่ายในระดับมากร้อยละ 52.94 และมากที่สุดร้อยละ 47.06 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ดีของการวางแผนการจำหน่ายที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ผู้บริหารควรสนับสนุนให้มีการวางแผนการจำหน่ายในผู้ป่วยกลุ่มอื่นต่อไป Discharge planning is the preparing for a patient before leaving the hospital in order to obtain continuous care. The objective of this study was to improve the quality of discharge planning of patients with head and neck cancer in Eye Ear Nose and Throat ward, Buddhachinaraj hospital, Phitsanulok, by using PDCA quality improvement process. The participants were 19 multidisciplinary teams, 23 patients with head and neck cancer who were operated on, and 23 caregivers. The study instruments developed by the researcher were 1) the focus group interview guidelines for multidisciplinary teams regarding the problems of discharge planning, 2) the interview guidelines for patients and caregivers regarding the needs of discharge, 3) the questionnaires for collecting problems and suggestions of discharge planning, 4) the ability assessment form of patients and caregivers in performing nursing activities which was modified from the questionnaire developed by Deawsurintr (1999), 5) the observation form for assessing the performance of multidisciplinary teams on discharge planning, 6) the satisfaction assessment form of patients and caregivers, and 7) the satisfaction assessment form of multidisciplinary teams regarding discharge planning. The quality of all instruments was confirmed by three experts. The Kuder–Richardson(KR-20) coefficient of the ability assessment form of patients and caregivers in conducting nursing activities was .89. Data was analyzed by using descriptive statistics. The results revealed that: most of the multidisciplinary teams could completely perform the discharge planning for more than 80%, most of patients with head and neck cancer and their caregivers could completely perform nursing activities for more than 90%, patients with head and neck cancer were satisfied with the discharge planning at a high (69.57%) and the highest levels(30.43%), the multidisciplinary teams were satisfied with the discharge planning at a high (52.94 %) and the highest levels (47.06 %). This study showed good outcomes of discharge planning on the patient’s quality of life in which administrators should support the uses of discharge planning for other groups of patients. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241832/164614 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68796 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.