Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68793
Title: | การวิเคราะห์สถานการณ์การบริหารความเสี่ยง หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย |
Other Titles: | Situational Analysis of Risk Management in Female Medical Ward at Hospital in the Northern Region of Thailand |
Authors: | กานต์พิชา จันทร์หงษ์ อรอนงค์ วิชัยคำ ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ |
Authors: | กานต์พิชา จันทร์หงษ์ อรอนงค์ วิชัยคำ ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ |
Keywords: | การวิเคราะห์สถานการณ์;การบริหารความเสี่ยง;ความปลอดภัยของผู้ป่วย |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 406-416 |
Abstract: | การบริหารความเสี่ยงมีความสำคัญต่อคุณภาพของการให้บริการสุขภาพ โดยเฉพาะความปลอดภัยของผู้ป่วย การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การบริหารความเสี่ยง และศึกษาแนวทางการแก้ปัญหา การบริหารความเสี่ยงของหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย โดยการศึกษาเอกสารและข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง การสัมภาษณ์ตัวแทนคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล จำนวน 6 คน และ การประชุมกลุ่มบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างจากกรอบแนวคิดการประเมินคุณภาพของโดนาบีเดียน (Donabedian, 2003) ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการ และ ด้านผลลัพธ์ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิทางการพยาบาลจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1.ด้านโครงสร้าง หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง มีการกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง คือความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นแนวทางในการบริหารความเสี่ยง แต่ไม่สามารถนำนโยบายดังกล่าวลงสู่การปฏิบัติได้อย่างครบถ้วน ส่วนปัจจัยด้านการสนับสนุนพบว่ามีปัญหาด้านงบประมาณ ด้านบุคลากรและด้านอาคารสถานที่ สำหรับเครื่องมือคุณภาพบุคลากรขาดความรู้ในการนำไปใช้ จึงควรมีการสื่อสารนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่ชัดเจนและหลากหลายช่องทาง มีการบูรณาการการบริหารความเสี่ยงเข้ากับงานประจำ ควรเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณ ควรมีการมอบหมายงานและจัดอัตรากำลังให้เหมาะสมกับภาระงาน และควรมีการพัฒนาความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือคุณภาพแก่บุคลากร 2.ด้านกระบวนการ มีปัญหาขั้นตอนของการบริหารความเสี่ยงได้แก่ การค้นหาความเสี่ยง การประเมินระดับความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง และการประเมินผล จึงควรมีการกระตุ้น และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการค้นหาและรายงานความเสี่ยง ควรมีคู่มือหรือแนวปฏิบัติการบริหารความเสี่ยง ควรมีการนิเทศและสื่อสารเกี่ยวกับแนวปฏิบัติหรือวิธีการบริหารความเสี่ยง ควรมีการติดตาม ประเมินผลและพัฒนาการบริหารความเสี่ยง และควรมีการประสานงานในทีมสหสาขาอย่างต่อเนื่อง 3.ด้านผลลัพธ์ พบว่า ผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงควรส่งเสริมให้บุคลากรมีการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง ควรมีการติดตามการรายงานความเสี่ยงของบุคลากรในแต่ละเวร กระตุ้นให้มีการบันทึกข้อมูล สร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการรายงานและมีการติดตามตัวชี้วัดการบริหารความเสี่ยงทุกเดือน ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้บริหารทางการพยาบาลในการปรับปรุงระบบบริหารความเสี่ยงของหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง Risk management is important to ensure the quality of health services, especially the patient safety. The objective of this descriptive study was to analyze situations of risk management and describe solutions for risk management problems in the Female Medical Ward at Hospital in the northern region of Thailand, by studying the documents and information of risk management, interviewing six risk management committee members, and conducting a group meeting of 26 nursing staff working in the Female Medical Ward. Research instruments consisted of semi structured-questions developed from the conceptual framework of the Donabedian model for quality assessment (2003), which includes structure aspect, process aspect, and outcome aspect. Data was analyzed using content analysis. The results were as follows: 1.Regarding the structure aspect in the Female Medical Ward, there were risk management policies, which were guided by patient safety. However, they were not successfully implemented, due to the following reasons, there are budget problems, personnel, workplace, difficulty and inconvenience in using quality tools, and lack of knowledge on how to use quality tools. Suggestions included having a variety of clearly laid out channels of communication for risk management policy, preparing for budget, integrating risk management to routine work, assigning proper tasks and personnel according to workloads, and educating nursing personnel on how to use quality tools. 2.Regarding the process aspect, it was found that there are problems at every step of risk management, including risk search, risk assessment, risk management and evaluation. Suggestions included strategies to encourage and improve assessing and reporting risk, having risk management handbook or guidelines, having supervision and communication on risk guidelines or managing risk, continuous monitoring, evaluating, and improving risk management, and consistently coordinating a multidisciplinary team. 3.Regarding the outcome aspect, it was found that the planned outcomes were not achievable. Suggestions included encouraging staff to report incidents, monitoring risk reporting of staff for every shift, urging data recording, promoting a positive attitude toward reporting, and monitoring risk management indicators every month. The results patient safety this study can be used by the hospital and nurse administrators to improve the risk management system in Female Medical Ward. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241849/164625 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68793 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.