Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68788
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพรชนิดา แก้วเปี้ยen_US
dc.contributor.authorกุลวดี อภิชาติบุตรen_US
dc.contributor.authorอรอนงค์ วิชัยคำen_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:30Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:30Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 369-380en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241847/164624en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68788-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการรับส่งเวรทางการพยาบาลมีความสำคัญต่อความต่อเนื่อง คุณภาพ และความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินโรงพยาบาลอุตรดิตถ์โดยใช้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องโฟกัสพีดีซีเอ (FOCUS-PDCA) ร่วมกับการสื่อสารแบบเอสบาร์ (SBAR) ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม แบบสังเกตการปฏิบัติการรับส่งเวรทางการพยาบาล แบบบันทึกอุบัติการณ์ที่เกิดจากการรับส่งเวร แบบประเมินความพึงพอใจต่อการรับส่งเวรทางการพยาบาล และแนวคำถามปัญหาอุปสรรคการรับส่งเวรทางการพยาบาล โดยเครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและทดสอบความเที่ยงของการสังเกตระหว่างผู้เก็บข้อมูล 2 คน โดยใช้เครื่องมือชุดเดียวกัน ทดสอบกิจกรรมเดียวกัน และในเวลาเดียวกัน โดยวิเคราะห์หาความตรงกันของการสังเกตการรับส่งเวรรวม ได้ค่าเท่ากับ 0.89 และการรับส่งเวรผู้ป่วยฉุกเฉิน ได้ค่าเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาล พยาบาลวิชาชีพสามารถปฏิบัติตามแนวทางการรับส่งเวรได้อย่างถูกต้องครบถ้วนมากกว่าร้อยละ 90.00 ไม่เกิดอุบัติการณ์ที่เกิดจากการรับส่งเวรทางการพยาบาล และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการรับส่งเวรทางการพยาบาลในระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 45.45 และ36.36 ตามลำดับ ปัญหาอุปสรรคในการรับส่งเวรทางการพยาบาล คือ พยาบาลวิชาชีพส่งเวรไม่ครบถ้วนเนื่องจากต้องไปให้การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติ ผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำแนวทางดังกล่าวไปพัฒนาการรายงานแพทย์และการส่งเวรกับหน่วยงานอื่นต่อไป Nursing handover is important for continuity quality and safety of patient care. The purpose of this study was to improve the quality of nursing handovers in emergency room, Uttaradit Hospital by using the FOCUS-PDCA continuous quality improvement process and SBAR method. The study population was 27 registered nurses. The research instruments were interview guidelines, the nursing handover observation checklist, the nursing handover incident recording form, the nursing handover satisfaction questionnaires, and the interview guidelines for obstacles of nursing handover. All instruments were validated for content by three experts and the inter-rater reliability of two data collectors using the same instruments, the same activity by the consistency of the observation of group handover in every activity was 0.89 and nursing Handover in Emergency Room in every activity was 0.88. Data were analyzed using descriptive statistics and content analysis. The result showed that after the quality improvement of nursing handover, more than 90.00% of registered nurses can completely and correctly perform with the nursing handover protocol. There were no incidents regarding the nursing handover 45.45% and 36.36% of registered nurses satisfied with nursing handover at high to extremely high levels. The barrier of nursing handover was registered nurse cannot completely perform handover due to taking care of critical ill patients. Nursing administrators can apply this method to improve communication between nurses and doctors as well as nursing handover with other units.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการรับส่งเวรทางการพยาบาลen_US
dc.subjectารพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องen_US
dc.subjectโรงพยาบาลอุตรดิตถ์en_US
dc.titleการพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาล ห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุตรดิตถ์en_US
dc.title.alternativeQuality Improvement of Nursing Handover, Emergency Room, Uttaradit Hospitalen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.