Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68783
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพัชราวรรณ แก้วกันทะen_US
dc.contributor.authorวิลัยพร นุชสุธรรมen_US
dc.contributor.authorคอย ละอองอ่อนen_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:30Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:30Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 286-296en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241820/164603en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68783-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการส่งเสริมคุณลักษณะเพื่อนผู้ให้การปรึกษาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาจะช่วยยกระดับจิตใจและปัญญาของผู้ให้การปรึกษา ทำให้สามารถเป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือเพื่อนที่มีปัญหาทางจิตใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองที่มีกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมคุณลักษณะเพื่อนผู้ให้การปรึกษาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักศึกษาพยาบาลจำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 26 ราย และกลุ่มควบคุม 26 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม 2561 กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมคุณลักษณะเพื่อนผู้ให้การปรึกษาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการส่งเสริมคุณลักษณะเพื่อนผู้ให้การปรึกษาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินคุณลักษณะเพื่อนผู้ให้การปรึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที(t-test) ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนคุณลักษณะเพื่อนผู้ให้การปรึกษาด้านความรู้เกี่ยวกับการให้การปรึกษาด้านเจตคติต่อการให้การปรึกษาและด้านบุคลิกภาพในการเป็นผู้ให้การปรึกษาของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม และภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมคุณลักษณะเพื่อนผู้ให้การปรึกษาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาสามารถส่งเสริมคุณลักษณะเพื่อนผู้ให้การปรึกษาในนักศึกษาพยาบาลในการให้การปรึกษาแก่เพื่อนนักศึกษาจึงควรนำไปเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรของคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะเพื่อนผู้ให้การปรึกษาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน The promotion of peer consulting characteristics according to contemplative education helps enhance the heart and wisdom of a consultant. It also turns a consultant himself into a medium that can effectively support those with mental disorders. This research was a quasi-experimental research with control and experimental groups. The objective was to explore the effects of the Peer Consulting Characteristics Promotion Program under the concept of contemplative education among second-year nursing students. Fifty-two nursing students were randomly selected by using a simple random sampling method: 26 students in the experimental group and 26 students in the control group. The study was conducted from March to May 2018. The experimental group was advised by the Peer Consulting Characteristics Promotion Program according to contemplative education, whereas the control group was advised by the standard program. The research instruments consisted of the Peer Consulting Characteristics Promotion Program according to contemplative education, personal information questionnaire, and the evaluation form of peer consulting characteristics according to contemplative education created from the review of literature with a reliability value of 0.91. The data were analyzed using descriptive statistics and t-test statistics. The findings suggested that the mean scores of peer consulting characteristics in various aspects, including consulting knowledge, consulting attitudes, and consultants’ personality were higher in the experimental group than in the control group. In addition, after receiving the program, the experimental group obtained higher scores in the post-experimental test, with a statistical significance of 0.05. The results indicated that the promotion of peer consulting characteristics according to contemplative education program could help promote the characteristics of peer consultants among nursing students, while they can also provide advice to fellow friends. As a result, the program shall be introduced as an extracurricular activity of the Faculty of Nursing to encourage the characteristics of peer consulting in a consistent and sustainable manner.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโปรแกรมการส่งเสริมคุณลักษณะเพื่อนผู้ให้การปรึกษาen_US
dc.subjectจิตตปัญญาศึกษาen_US
dc.subjectนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการส่งเสริมคุณลักษณะเพื่อนผู้ให้การปรึกษาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงรายen_US
dc.title.alternativeEffects of Characteristic of a Peer Consulting Contemplative Education Theory Promotion Program in Second Year Nursing Students, Faculty of Nursing, Chiang Rai College.en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.