Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68780
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศิริธนา ยะมะโน | en_US |
dc.contributor.author | รัชนีกร อุปเสน | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-06-10T07:12:29Z | - |
dc.date.available | 2020-06-10T07:12:29Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 310-319 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241822/164605 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68780 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัดสองกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียด และเปรียบเทียบภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการที่แผนกจิตเวชผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จำนวน 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียด 2) แบบประเมินภาวะกดดันด้านจิตใจ the Kessler psychological distress scales (K10) 3) แบบวัดการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่า Paired t-test ในกลุ่มทดลองและ Independent t-test ในกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่าภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาล ในการวางแผนการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดให้กับผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเพื่อลดภาวะกดดันด้านจิตใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท The purpose of this quasi-experimental research using the pretest-posttest design were to compare psychological distress in caregivers of persons with schizophrenia before and after received the coping skills enhancement program, and psychological distress in caregivers of persons with schizophrenia who received the coping skills enhancement program and those who received regular nursing care. Forty caregivers of schizophrenic patients who had received health care services in outpatient department at Nakhon Ratchasima Rajanagarindra psychiatric hospital were randomly assigned to either an experimental or control group, 20 subjects in each group. The research instruments used in this research were: 1) the coping skills enhancement program, 2) the Kessler psychological distress scales, and 3) coping scale for caregivers of schizophrenic’s patients. Paired t-test and independent t-test were used to analyze data in the experimental and the control groups respectively. The results showed that the psychological distress in caregivers of persons with schizophrenia after received the coping skills enhancement program was statistically significantly less than those before at p .05 level and the psychological distress in caregivers of persons with schizophrenia after received the coping skills enhancement program significantly higher than those in the control group who received the regular nursing care at p. 05 level. These results could be used as basic information for nurses in planning nursing care in order to enhance coping skills for caregivers of schizophrenic patients to decrease the psychological distress. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท | en_US |
dc.subject | ภาวะกดดันด้านจิตใจ | en_US |
dc.subject | ทักษะการเผชิญความเครียด | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเผชิญความเครียดต่อภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท | en_US |
dc.title.alternative | The Effect of Coping Skills Enhancement Program on Psychological distress in Caregivers of Person with Schizophrenia | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.