Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68778
Title: | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการเหนื่อยล้าของผู้เป็นบิดาในระยะหลังบุตรเกิด |
Other Titles: | Factors Related to Fatigue Among Fathers in Postnatal Period |
Authors: | ณัฏยา อ่อนผิว นันทพร แสนศิริพันธ์ ฉวี เบาทรวง |
Authors: | ณัฏยา อ่อนผิว นันทพร แสนศิริพันธ์ ฉวี เบาทรวง |
Keywords: | อาการเหนื่อยล้า;ผู้เป็นบิดาในระยะหลังบุตรเกิด |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 240-250 |
Abstract: | อาการเหนื่อยล้าเป็นการรับรู้และความรู้สึกที่พบได้ในผู้เป็นบิดาระยะหลังบุตรเกิดซึ่งส่งผลต่อผู้เป็นบิดาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้พฤติกรรมการสื่อสารของทารก การสนับสนุนทางสังคมและอาการเหนื่อยล้า ของผู้เป็นบิดาในระยะหลังบุตรเกิด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เป็นบิดาทุกคนที่พาบุตรมารับบริการตรวจคัดกรอง ภาวะสุขภาพในระยะหลังคลอดที่แผนกผู้ป่วยนอก ระยะ 1-2 สัปดาห์ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ จำนวน 85 ราย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือน เมษายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือ ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามอาการเหนื่อยล้า (The Modified Fatigue Symptoms Checklist [The MFSC]) ของ Pugh, Milligan, Parks, Lenz, & Kitzman (1999) ฉบับภาษาไทยโดย Theerakulchai (2004) แบบสอบถามการรับรู้พฤติกรรมการสื่อสารของทารกที่ ณัฏยา อ่อนผิว และนันทพร แสนศิริพันธ์ สร้างขึ้น และแบบสอบถามการ สนับสนุนทางสังคมของบิดา ของ Chaina, Sansiriphun, & Kantaruksa (2015) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 96.47 มีอาการเหนื่อยล้าอยู่ในระดับน้อย (= 41.65, S.D. = 8.38) การรับรู้พฤติกรรมการสื่อสารของทารกมีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการเหนื่อยล้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.426, p < .01) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการเหนื่อยล้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.403, p < .01) Fatigue is the perception and feeling which can be found among fathers in the postnatal period. It affects fathers physically and mentally. The purpose of this descriptive correlational research was to explore the relationship between the perception of infant’s communicated behavior, social support and fatigue among fathers in postnatal period. The subjects were selected following inclusion criteria and consisted of 85 fathers in postnatal period, who brought their newborn in the 1 – 2 weeks postnatal period for health screening services at the outpatient department at Chiang Mai Health Promotion Center region 1 from February to April 2017. The research tools were The Modified Fatigue Symptoms checklist (The MFSC) by Pugh, Milligan, Parks, Lenz, & Kitzmen (1999), Thai version by Theerakulchai (2004); The Perception of Infant’s Communicated Behavior, developed by Nuttaya Onpiw and Nantaporn Sansiriphun. The Father Social Support Questionnaire, developed by Supakorn Chaina and Nantaporn Sansiriphun (Chaina, Sansiriphun, & Kantaruksa, 2015). Descriptive statistics and Spearman rank correlation coefficient were used to analyze the data. Results of the study revealed that most of the fathers (96.47%) had low fatigue. Their mean score of fatigue was 41.65 (S.D. = 8.38). Perception of infant’s communicated behavior had negative correlation with fatigue among fathers in postnatal period (r = -.426, p < .01). Social support had a negative correlation with fatigue among fathers in the postnatal period (r = -.403, p < .01). The findings from this study can be used as baseline data for planning nursing practices to manage fatigue among fathers in postnatal period. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241816/164599 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68778 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.