Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68776
Title: ผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่อความเจ็บปวดในการคลอดและความพึงพอใจของผู้คลอดวัยรุ่น
Other Titles: Effects of Foot Reflexology on Labor Pain and Satisfaction among Adolescent Parturients
Authors: กรรณิการ์ โปร่งเกษม
ปิยะนุช ชูโต
นงลักษณ์ เฉลิมสุข
Authors: กรรณิการ์ โปร่งเกษม
ปิยะนุช ชูโต
นงลักษณ์ เฉลิมสุข
Keywords: การนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า;ความเจ็บปวดในการคลอด;ความพึงพอใจ;ผู้คลอดวัยรุ่น
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 216-226
Abstract: ความเจ็บปวดในการคลอดเป็นสาเหตุของความไม่สุขสบายและความทุกข์ทรมาน และผู้คลอดวัยรุ่นมักทนต่อความเจ็บปวดในการคลอดได้น้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ ส่งผลให้ไม่สามารถเผชิญกับความเจ็บปวดได้ การนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าเป็นอีกวิธีการที่อาจช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในการคลอดได้ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่อความเจ็บปวดในการคลอดและความพึงพอใจของผู้คลอดวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือผู้คลอดวัยรุ่นจำนวน 44 ราย ที่มาคลอดบุตร ณ ห้องคลอดโรงพยาบาลกำแพงเพชรระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 คัดเลือก ตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 22 คน โดยวิธีการสุ่ม กลุ่มทดลองได้รับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ในระยะปากมดลูกเปิดอย่างน้อย 4 เซนติเมตร เป็นเวลา 20 นาที และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย คือ แผนการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเจ็บปวดในการคลอดชนิดตัวเลข และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการกับความปวดผู้วิจัยดัดแปลงจาก (Stahmer et al., 1998) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบฟรีดแมน และสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดในการคลอดในระยะหลังการทดลองทันที ระยะหลังการทดลอง 1 ชั่วโมง และระยะหลังการทดลอง 2 ชั่วโมง น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001, p < .001 และ p = .001) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในการบรรเทาความเจ็บปวดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) Labor pain causes discomfort and suffering. Adolescent parturients are less tolerant to pain than adults that cause them to not cope well with the pain. Foot reflexology is one method that may relieve labor pain. The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effect of foot reflexology on labor pain and satisfaction among adolescent parturients. The subject selected following the inclusion criteria comprised of 44 adolescent parturients admitted at labor unit in Kamphaeng Phet hospital between April and December 2016, divided to an experimental group and control groups by random sampling of 22 participants per group. The participants in the experimental group received foot reflexology for twenty minutes at beginning of cervical dilatation of at least 4 cm. while participants in the control group received routine nursing care. The research instrument consisted of the foot reflexology plan. Data collection tools consisted of the Numeric Rating Pain Scales and Pain management satisfaction assessment form which the researchers adapted from Stahmer et al (1998). Data were analyzed using descriptive statistics, Friedman test and Mann Whitney U test. Results of the study revealed that: the experimental group had an average mean score of labor pain in the post-test period straightway, one hour after the experiment and two hours statistically significant less than the control group (p <.001, p <.001 and p = .001), and the experimental group had an average mean score of satisfaction statistically significantly higher than the control group (p < .001)
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241810/164597
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68776
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.