Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68770
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกฤษณา ปิงวงศ์en_US
dc.contributor.authorกรรณิการ์ กันธะรักษาen_US
dc.contributor.authorนงลักษณ์ เฉลิมสุขen_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:29Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:29Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 143-155en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241802/164591en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68770-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการคัดตึงเต้านมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในมารดาที่ให้นมบุตรและเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจหยุดเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา การนวดเต้านมเป็นวิธีการลดการคัดตึงเต้านมที่มีประสิทธิภาพ การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับประสิทธิผลของการนวดเต้านมต่อการคัดตึงเต้านมในมารดาที่ให้นมบุตร โดยสืบค้นจากรายงานการวิจัยเชิงทดลองและรายงานวิจัยกึ่งทดลองที่ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิผลของการนวดเต้านมต่อการคัดตึงเต้านมในมารดาที่ให้นมบุตร ทั้งได้รับการตีพิมพ์ และไม่ได้รับการตีพิมพ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่รายงานไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึง ปี พ.ศ. 2559 โดยใช้วิธีการทบทวนอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (JBI, 2014) ประเมินคุณภาพงานวิจัยและสกัดข้อมูลงานวิจัยโดยใช้เครื่องมือที่พัฒนาโดยสถาบันโจแอนนาบริกส์ โดยผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษาแยกกันประเมินอย่างอิสระ จากการสืบค้นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิผลของการนวดเต้านมต่อการคัดตึงเต้านมในมารดาที่ให้นมบุตร พบงานวิจัย 2 เรื่อง ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าและการประเมินคุณภาพงานวิจัย เป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมจำนวน 1 เรื่อง และงานวิจัยกึ่งทดลอง จำนวน 1 เรื่อง ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ด้วยการสรุปเชิงเนื้อหา เนื่องจากงานวิจัยทั้ง 2 เรื่องมีวิธีการจัดกระทำต่างกัน มีวิธีการประเมินผลลัพธ์และระยะเวลาในการประเมินผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถนำมาวิเคราะห์เมต้าได้ ผลการวิเคราะห์พบว่า วิธีการนวดเต้านมเพื่อลดการคัดตึงเต้านมในมารดาที่ให้นมบุตรมี 2 วิธี คือ การนวดเต้านมด้วยวิธีกัวซ่า และการนวดเต้านมด้วยวิธีโอคิตานิ โดยงานวิจัยทั้ง 2 เรื่อง มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน และนวดด้วยความนุ่มนวลโดยบุคลากรทางสุขภาพที่ผ่านการฝึกอบรม ผลการศึกษาพบว่าการนวดเต้านมด้วยวิธีกัวซ่าสามารถลดระดับการคัดตึงเต้านม สำหรับการนวดเต้านมด้วยวิธีโอคิตานิสามารถลดระดับความเจ็บปวดของมารดาที่มีการคัดตึงเต้านมได้ จากผลการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าการนวดเต้านมเพื่อลดการคัดตึงเต้านมต้องมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน และนวดด้วยความนุ่มนวล สำหรับด้านการวิจัยควรมีการศึกษาวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม เพื่อเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือ และมีงานวิจัยที่มีคุณภาพเพียงพอในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เมต้าต่อไป Breast engorgement is a problem that is frequently found in lactating mothers and it is a major factor affecting the decision to stop breastfeeding. Breast massage is an effective method for reducing breast engorgement. The purpose of this systematic review was to summarize evidence based about the effectiveness of breast massage on breast engorgement in lactating mothers. The study searched for all published and unpublished randomized controlled trial and quasi-experimental studies in Thai and English regarding the effect of breast massage on breast engorgement from 2010 to 2016. The systematic review was conducted using a systematic guideline developed by the Joanna Briggs Institute (JBI, 2014). All included studies were independently appraised and extracted by the researcher and major advisor using standardized tools, also developed by the Joanna Briggs Institute. There were 2 articles studying the effectiveness of breast massage on breast engorgement in lactating mothers, which met the inclusion criteria and the critical appraisal criteria. One was a randomized controlled trial study while the other was a quasi-experimental study. Data were analyzed using narrative summarization. Due to the difference of intervention, method, and time for measuring outcome in each study, meta-analysis could not be used in this particular study. The result of this systematic review found that there were 2 methods of breast massage reducing breast engorgement in lactating mothers. These were Gua-Sha therapy and Oketani breast massage. Both studies presented clear practice guidelines. When performed gently by trained health professionals, breast massage proved to be an effective intervention. The results of this systematic review found that the Gua-Sha therapy could reduce breast engorgement. The Oketani breast massage could reduce pain in lactating mothers with breast engorgement. These findings suggest that breast massage must be practiced based on clear guidelines and performed gently. Further experimental studies using randomized controlled trial are required in order to provide credible evidence and enough qualified studies to perform meta-analysis.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการนวดเต้านมen_US
dc.subjectการคัดตึงเต้านมen_US
dc.subjectมารดาที่ให้นมบุตรen_US
dc.subjectการทบทวนอย่างเป็นระบบen_US
dc.titleประสิทธิผลของการนวดเต้านมต่อการคัดตึงเต้านมในมารดาที่ให้นมบุตร: การทบทวนอย่างเป็นระบบen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of Breast Massage on Breast Engorgement Among Lactating Mothers: A Systematic Reviewen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.