Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68768
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นลินี สิทธิบุญมา | en_US |
dc.contributor.author | กรรณิการ์ กันธะรักษา | en_US |
dc.contributor.author | บังอร ศุภวิทิตพัฒนา | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-06-10T07:12:29Z | - |
dc.date.available | 2020-06-10T07:12:29Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 169-179 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241804/164593 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68768 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพร่างกาย และจิตใจของมารดา ทารก และครอบครัว การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความเครียด การสนับสนุนทางสังคมและภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของมารดาครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 85 ราย เป็นมารดาหลังคลอดครรภ์แรกที่มารับบริการตรวจหลังคลอด 4 สัปดาห์ ที่ห้องตรวจหลังคลอด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินความเครียดสวนปรุง ที่สร้างขึ้นโดย Mahatnirunkul, Pumpaisalchai & Tapanya (1997) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมของมารดาหลังคลอดที่ นลินี สิทธิบุญมา, กรรณิการ์ กันธะรักษา และบังอร ศุภวิทิตพัฒนา สร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดของ (House,1981) และการทบทวนวรรณกรรม และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเอดินเบิร์กของ Cox, Holden & Sagovsky (1987) ที่แปลเป็นภาษาไทยโดย Pitanupong, Liavsuetrakul & Vittayanont (2006) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า มารดาหลังคลอดครรภ์แรกมีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.71 และระดับรุนแรง ร้อยละ 24.71 มารดาหลังคลอดครรภ์แรกได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับมาก ร้อยละ 54.12 มารดาหลังคลอดครรภ์แรก มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ร้อยละ 57.65 ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (r= .463, p < .01) และการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลงานวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลผดุงครรภ์ควรประเมินความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของมารดาครรภ์แรก รวมทั้งให้การช่วยเหลือ ดูแล พร้อมทั้งส่งต่อผู้ที่มีความเครียดในระดับรุนแรง ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมน้อยและมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสมต่อไป Postpartum depression affects the physical and psychological health of mothers, infants and families. The purpose of this descriptive correlational research study was to explore stress, social support and postpartum depression among first-time mothers. The subjects were selected following the inclusion criteria and consisted of 85 expectant first-time mothers who received postnatal four week check-up at Chiang Rai Hospital and Chiang Mai Health Promotion Hospital from March to July 2014. The research tools were the Suanprung Stress Test developed by Mahatnirunkul, Pumpaisalchai & Tapanya (1997), the Mother Social Support Questionnaire developed by Nalinee Sitthiboonma, Kannika Kantaruksa and Bungorn Supavititpatana based on the social support concept of House (1981) and literature reviewed, and The Edinburgh Postnatal Depression Scales developed by Cox, Holden, and Sagovsky (1987), which was translated into Thai by Pitanupong, Liavsuetrakul & Vittayanont (2006). Descriptive statistics and Pearson's product moment correlation were used to analyze the data. Results of the study revealed that: The first-time mothers had moderate stress 64.71% and severe stress 24.71%. The first-time mothers had high social support 54.12%. The first-time mothers had postpartum depression 57.65%. Stress had moderate positive correlation with postpartum depression (r = .463, p < .01) while social support had no statistically significant correlation with postpartum depression. The research findings suggest that screening for stress, social support, and postpartum depression among first-time mothers should be done so midwives can refer those who have high stress level, lack of social support and have postpartum depression for appropriate care. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ความเครียด | en_US |
dc.subject | การสนับสนุนทางสังคม | en_US |
dc.subject | ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด | en_US |
dc.subject | มารดาครรภ์แรก | en_US |
dc.title | ความเครียด การสนับสนุนทางสังคมและภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของผู้เป็นมารดาครั้งแรก | en_US |
dc.title.alternative | Stress, Social Support and Postpartum Depression among First-time Mothers | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.