Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68767
Title: | ปัจจัยทำนายการปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศูนย์ |
Other Titles: | Factors Predicting Practices in Prevention of Drug Resistant Organism Transmission Among Registered Nurses in Regional Hospitals |
Authors: | ชลธิศ บุญร่วม อะเคื้อ อุณหเลขกะ วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ |
Authors: | ชลธิศ บุญร่วม อะเคื้อ อุณหเลขกะ วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ |
Keywords: | ปัจจัยทำนาย;การปฏิบัติ;การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา;พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 133-142 |
Abstract: | การติดเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขระดับโลกที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาอย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยเชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติและปัจจัยทำนายการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานอายุรกรรมและศัลยกรรมในโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 3 แห่ง จำนวน 441 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วยข้อมูล 5 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ การได้รับการสนับสนุนและการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ส่งแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ได้รับแบบสอบถามคืนร้อยละ 75.7 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาอยู่ในระดับดีร้อยละ 70.0 มีทัศนคติอยู่ในระดับดีมากร้อยละ 58.7 ได้รับการสนับสนุนในระดับมากร้อยละ 86.8 และมีการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาอยู่ในระดับดีมากร้อยละ 88.9 ความรู้ ทัศนคติและการได้รับการสนับสนุนสามารถร่วมทำนายการปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 21.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) หน่วยงานในโรงพยาบาลควรให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาที่ทันสมัยตามหลักฐานเชิงประจักษ์แก่พยาบาลวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น Drug resistant organism infection is a major global health problem which severely affect patients. It is necessary to effectively prevent the transmission of drug resistant organism. This study aimed to determine practices and factors predicting the practices of registered nurses in the prevention of drug resistant organism transmission. The samples included 441 Registered Nurses working in the medical and surgical department of three regional hospitals under the Ministry of Public Health. Data were collected using a self - administered questionnaire developed by the researcher, which consisted of five parts: personnel information, knowledge, attitudes, support, and practices in prevention of drug resistant organism transmission. The response rate was 75.7%. Data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. The results showed that 70.0% and 58.7% of samples had a good level of knowledge and very good attitude towards the prevention of drug resistant organism transmission, respectively. Eighty six percent reported that they received very good support. Eighty eight percent had very good practice. Knowledge, attitude and support could predict practices in the prevention of drug resistant organism transmission at 21.1% (p<.05). The organization should continuously educate Registered Nurses on up-to-date evidence-based prevention of drug resistant organism transmission so that their practices in the prevention of drug resistant organism are more effective. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241801/164590 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68767 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.