Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68764
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชุมนุมพร ยอดปะนัน | en_US |
dc.contributor.author | ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล | en_US |
dc.contributor.author | ศิวพร อึ้งวัฒนา | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-06-10T07:12:28Z | - |
dc.date.available | 2020-06-10T07:12:28Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 75-84 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241749/164571 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68764 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กวัยเรียนมีผลกระทบต่อพัฒนาการ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการควบคุมป้องกันและแก้ไข การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้ให้ข้อมูลเพื่อวินิจฉัยปัญหา และผู้พิจารณารูปแบบความเหมาะสม และวิธีการดำเนินการ ของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 12 คน 2) กลุ่มผู้เข้าร่วมโปรแกรม ได้แก่ นักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ของโรงเรียนวัดเวฬุวันและโรงเรียนวัดพระนอนหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 48 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนวคำถามการสัมภาษณ์กลุ่ม แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารหลังเข้าร่วมโปรแกรม เพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมโดยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการออกกำลังกาย หลังเข้าร่วมโปรแกรมเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม โดยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีแนวโน้มต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน อย่างไรก็ตามควรมีการขยายระยะเวลาในการติดตามประเมินผลเพื่อให้เห็นประสิทธิภาพของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนชัดเจนมากขึ้น Overweight school-aged children is a public health problem that has increased. It is caused by inappropriate food consumption and exercise behaviors. The purpose of this quasi experimental research design was to determine effects of a Community Participatory Health Promotion Program on Food Consumption and Exercise Behaviors Among Overweight Students. The sample consisted of two groups which were selected by purposive sampling. The first group were altogether 12 people who helped diagnose the problem. The second group were program participants, 48 overweight school-aged children (grades 5 and 6) from a primary school in Chiang Mai Province. The research was conducted between July and October 2015. The research instruments were the food consumption and exercise behaviors questionnaire and a group interview discussion guide. Data were analyzed using descriptive statistics and paired t-test. The results of study found that after attending the program food consumption behavior scores of the intervention groups overweight school-age children increased insignificantly at the level of .001 and exercise behaviors scores increased insignificantly at the level of .001 higher than control group. The results showed that the community participative program for health promotion could improve food consumption and exercise behaviors in overweight school-aged children. However, there should be an extension of time for monitoring and program evaluation to clearly see the effectiveness of the community participative program for health promotion. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมการบริโภคอาหาร | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมการออกกำลังกาย | en_US |
dc.subject | นักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายของนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน | en_US |
dc.title.alternative | Effects of a Community Participatory Health Promotion Program on Food Consumption and Exercise Behaviors Among Overweight Students | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.