Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68761
Title: | ปัจจัยด้านการยศาสตร์และความชุกของอาการผิดปกติระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ในแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า |
Other Titles: | Ergonomic Factors and Prevalence of Musculoskeletal Disorders Among Informal Garment Workers |
Authors: | ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล ธานี แก้วธรรมานุกูล รุจาธร อินทรตุล |
Authors: | ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล ธานี แก้วธรรมานุกูล รุจาธร อินทรตุล |
Keywords: | ปัจจัยการยศาสตร์;อาการผิดปกติระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ;แรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 64-74 |
Abstract: | ปัจจัยด้านการยศาสตร์เป็นหนึ่งปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานที่ส่งผลต่อการเกิดอาการผิดปกติระบบโครงร่างกล้ามเนื้อโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการยศาสตร์และอัตราความชุกของอาการผิดปกติระบบ โครงร่างกล้ามเนื้อ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการยศาสตร์และอาการผิดปกติระบบโครงร่างกล้ามเนื้อของแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้าในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 330 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.99 และความเชื่อมั่นในระดับที่ยอมรับได้เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลและหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคว์สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการยศาสตร์ที่สำคัญคือ การก้มหรือเงยศีรษะ (ร้อยละ 97.0) การบิดเอี้ยวตัว (ร้อยละ 90.0) การทำงานในลักษณะซ้ำซาก (ร้อยละ 88.8) การนั่งหรือยืนทำงานนาน (ร้อยละ 88.2) และการก้มโค้งตัวไปด้านหน้า (ร้อยละ 87.6) ส่วนอัตราความชุกของอาการผิดปกติระบบโครงร่างกล้ามเนื้อของกลุ่มตัวอย่างในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาเท่ากับร้อยละ 90.0 นอกจากนี้ พบว่าการก้มโค้งตัวไปด้านหน้าขณะทำงานมีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติระบบโครงร่างกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าพยาบาลอาชีวอนามัยและทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงการจัดอบรมเพื่อเสริมพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยโดยเฉพาะท่าทางการทำงานเพื่อลดการเกิดอาการผิดปกติระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า Ergonomic factors are one of significant occupational health hazard, resulting in musculoskeletal disorders particularly among informal garment workers. This descriptive study was to examine ergonomic factors and the prevalence of musculoskeletal disorders, including their association among 330 informal garment workers in Chiang Mai Province, chosen through purposive sampling. Data was collected by using an interview form which had been confirmed its quality, content validity index (CVI) = 0.99 and acceptable reliability level (0.81). Obtained data were analyzed using descriptive statistics and Chi-square. The major findings illustrated that the most significant ergonomic factors related to musculoskeletal disorders were bending or lifting neck (97.0%), twisting the body (90.0%), repetitive works (88.8), prolonged sitting or standing (88.2%), and bending forward (87.6%). The prevalence rate of musculoskeletal disorders among the samples during the past 1-month period was 90.0 percent. Further, only bending forward associated with musculoskeletal disorders significantly (p < .01). The results of this study indicate that occupational health nurses and related health team should place a high importance on safety training so as to promote safe working postures. This is anticipated to reduce the occurrence of musculoskeletal disorders as well as improve work productivity among informal ferment workers. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241798/164586 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68761 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.