Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68760
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | จันท์พิมพ์ สารากร | en_US |
dc.contributor.author | จุฑามาศ โชติบาง | en_US |
dc.contributor.author | มาลี เอื้ออำนวย | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-06-10T07:12:28Z | - |
dc.date.available | 2020-06-10T07:12:28Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 1-11 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241745/164568 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68760 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | เด็กวัย 3-5 ปี เป็นช่วงวัยที่มีความพร้อมสำหรับการได้รับการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ จากผู้ดูแลหลัก การวิจัยเชิงพรรณาหาความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้กับการปฏิบัติของผู้ดูแลหลัก และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับการปฏิบัติของผู้ดูแลหลักเพื่อการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทำการศึกษาในผู้ดูแลหลักของเด็กวัย 3-5 ปีที่กำลังเข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 10 แห่ง จำนวน 194 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินความรู้และแบบสอบถามการปฏิบัติของผู้ดูแลหลักเพื่อการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กวัย 3-5 ปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลหลักมีคะแนนความรู้อยู่ในระดับสูง การปฏิบัติโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก แบ่งเป็นด้านดี ร้อยละ 64.90 ด้านเก่ง ร้อยละ 64.40 และด้านสุข ร้อยละ 76.30 และความรู้กับการปฏิบัติของผู้ดูแลหลักเพื่อการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์เด็ก มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( r = .429, p < .001) ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางการพยาบาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กวัย 3-5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมความรู้ของผู้ดูแลหลักและนำไปสู่การปฏิบัติการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กอย่างถูกต้องเหมาะสมและต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เด็กไทยมีความฉลาดทางอารมณ์ที่ดีในระยะยาวและพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต Children, aged 3-5, are ready to engage in activities promoting emotional intelligence from.their primary caregivers. The purpose of this descriptive correlational study is to assess primary caregivers’ knowledge and practices for promoting emotional intelligence and to explore the correlation between knowledge and practices among primary caregivers. The participants included 194 primary caregivers of children aged 3-5 years. The data was collected when participants took their child to receive care at the 10 child development center in Chiang Mai. The instruments used for data collection consisted of a knowledge for promoting child’s emotional intelligence questionnaire and a promoting child’s emotional intelligence practice questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s correlation coefficient. Results revealed that primary caregivers had a high level of knowledge for promoting emotional intelligence. Primary caregivers’ promotion of emotional intelligence was also high; 64.90% promoted goodness at a high level, 64.40% promoted courage at a high level, and 76.30% had high levels of promoting happiness. The positive correlation between knowledge and promotion was moderate (r = .429, p < .001). Findings could be used by nurses and persons involved in promoting child’s emotional intelligence in child development centers as baseline data for improving knowledge of primary caregivers. This will increase the promotion of children’s emotion intelligence among primary caregivers in the context of each area properly and continuously. That will result in the promotion of good emotional intelligence for Thai children in the long term and their development into quality adults in the future. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ความรู้และการปฏิบัติ | en_US |
dc.subject | ผู้ดูแลหลัก | en_US |
dc.subject | การส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์เด็ก | en_US |
dc.title | ความรู้และการปฏิบัติของผู้ดูแลหลักเพื่อการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์เด็กใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก | en_US |
dc.title.alternative | Knowledge and Practice of Primary Caregivers for Promoting Child’s Emotional Intelligence in Child Development Centers | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.