Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68756
Title: การปฏิบัติของพยาบาลในการตอบสนองสื่อสัญญาณทารกเกิดก่อนกำหนดขณะให้การดูแลประจำวัน
Other Titles: Nurses’ Practices in Response to Preterm Infant Cues During Daily Care
Authors: ลำดวน การะพิน
จุฑามาศ โชติบาง
มาลี เอื้ออำนวย
Authors: ลำดวน การะพิน
จุฑามาศ โชติบาง
มาลี เอื้ออำนวย
Keywords: การปฏิบัติของพยาบาล;การตอบสนองสื่อสัญญาณทารก;ทารกเกิดก่อนกำหนด;การดูแลประจำวัน
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 12-23
Abstract: ทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกควรได้รับการดูแลตามหลักการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด โดยพยาบาลต้องประเมินสื่อสัญญาณและให้การตอบสนองต่อสื่อสัญญาณที่ประเมินได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การศึกษาครั้งนี้เป็นการสำรวจการปฏิบัติของพยาบาลในการตอบสนองสื่อสัญญาณทารกเกิดก่อนกำหนดขณะให้การดูแลประจำวัน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดและหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสังเกตการปฏิบัติของพยาบาลในการตอบสนองสื่อสัญญาณทารกเกิดก่อนกำหนดขณะให้การดูแลประจำวัน วิเคราะห์หาค่าร้อยละจำแนกตามการปฏิบัติของพยาบาล ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมหลักที่พยาบาลให้การดูแลประจำวันคือ การประเมินสัญญาณชีพและการทำความสะอาดร่างกาย โดยพยาบาลมีการปฏิบัติตอบสนองสื่อสัญญาณที่ทารกเกิดก่อนกำหนดแสดงออกมาได้ชัดเจนในระบบประสาทอัตโนมัติและระบบการทำงานของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว พยาบาลส่วนใหญ่ตอบสนองโดยหยุดกิจกรรมเมื่อทารกแสดงออกสื่อสัญญาณด้านประสาทอัตโนมัติ/สรีรวิทยา ได้แก่ อัตราการเต้นของหัวใจลดลงหรือเพิ่มขึ้น ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าร้อยละ 88 และ พยาบาลส่วนใหญ่ตอบสนองโดยการห่อตัว จัดท่านอนเมื่อทารกแสดงออกสื่อสัญญาณระบบการทำงานของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว ได้แก่ เหยียดแขนขา หรือลำตัวมากกว่าปกติ งอแขนขามากกว่าปกติ แอ่นหลัง บิดตัว วางมือปิดหน้า กางนิ้วมือ กำหมัด ใบหน้าเหยเก อยู่ไม่นิ่ง ดิ้นกระสับกระส่าย ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้พยาบาลมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการตอบสนองสื่อสัญญาณทารกเกิดก่อนกำหนดขณะให้การดูแลประจำวัน Preterm infants admitted to Neonatal Intensive Care Unit should receive appropriate nursing care according to principle of developmental care for preterm infants. Nurses should be able to assess preterm infant cues and respond appropriately nursing activities for infants to console themselves to stability. This study aims to survey practices of nurses in response to preterm infant cues during daily care. A purposive sample was ten nurses working in a Neonatal Intensive Care Unit or Nursery Unit. Instrument was the observation form of nurses’ practices in response to preterm infant cues during daily care. Data was analyzed using percentages of the nursing practices. It was found that two nursing activities providing daily care were taking vital signs such and body cleaning. Nurse responded to the preterm infant cues obviously in two subsystems, autonomic and motor subsystems. Most nurses responded by stopping the nursing activities to infants’ physiological cues; changing heart rate and oxygen saturation less than 88 %. Most nurses responded by swaddling and facilitated tucking to motor cues included arms, legs, and body over stretched or flexed; back arched; body twisted; face covered; finger sprayed; fist clenched; grimace; twitched; and fuzzy. The results of this study can be information for enhancing nurse’s understanding and concerns regarding response to preterm infant cues during daily care.
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241762/164582
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68756
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.