Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68755
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอารยา วุฒิกุลen_US
dc.contributor.authorชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์en_US
dc.contributor.authorธานี แก้วธรรมานุกูลen_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:28Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:28Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2563), 37-49en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/241793/164583en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68755-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractปัจจัยด้านการยศาสตร์ เป็นปัจจัยอันตรายจากการทำงานที่ส่งผลต่อการเกิดอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในแรงงานหัตถกรรมไม้ไผ่ การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการยศาสตร์และอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อกลุ่มแรงงานหัตถกรรมไม้ไผ่ จำนวน 159 ราย ในอำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ร่วมกับการสังเกตท่าทางการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้การสัมผัสปัจจัยด้านการยศาสตร์ในส่วนของท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ก้มศีรษะขณะทำงาน ร้อยละ 100 ก้มโค้งลำตัวขณะทำงาน ร้อยละ 98.11 นั่งบนพื้น/เก้าอี้ไม่มีพนักพิง ร้อยละ 96.86 บิดเอี้ยวตัวและนั่งทำงานต่อเนื่องมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 96.23 รวมทั้งการมีท่าทางการทำงานซ้ำๆ เช่น การออกแรงกระดกข้อมือขึ้น-ลงซ้ำๆ ร้อยละ 74.84 ส่วนการสังเกตท่าทางการทำงานโดยแบบประเมินท่าทางของร่างกายรยางค์ส่วนบนอย่างรวดเร็ว พบ กลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงจากท่าทางการทำงานระดับ 4 ร้อยละ 44.02 ซึ่งมีปัญหาด้านการยศาสตร์ ต้องได้รับการปรับปรุงงานทันที และระดับ 3 ร้อยละ 47.80 ซึ่งเริ่มมีปัญหาด้านการยศาสตร์ ควรพิจารณาดำเนินการปรับปรุงงานโดยเร็ว สำหรับอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อของกลุ่มตัวอย่างในช่วง 12 เดือนและ 7 วันที่ผ่านมาเท่ากับร้อยละ 86.79 และร้อยละ 57.23 ตามลำดับ โดยพบอาการผิดปกติบริเวณหลังส่วนล่างในสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 49.22 และร้อยละ 44.78) ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าพยาบาลอาชีวอนามัยและทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงความสำคัญในการสื่อสารความเสี่ยงถึงอันตรายจากการทำงานโดยเฉพาะท่าทางการทำงาน เพื่อสร้างความตระหนักในการทำงานที่ปลอดภัยและลดอัตราการเกิดอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ตลอดจนส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานผ่านการพัฒนาโครงการสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงและส่งเสริมสุขภาพแก่แรงงานหัตถกรรมไม้ไผ่ Ergonomic factors is a significant occupational health hazard resulting in musculoskeletal disorders (MSDs) among bamboo handicraft workers. This descriptive study was aim to study ergonomic factors and musculoskeletal disorders (MSDs) among 159 bamboo handicraft workers in Doi Saket district and San Kamphaeng district, Chiang Mai province. Data were collected using the interview form and observation form of working posture. Data analysis was performed using descriptive statistics. The results of study showed that the study sample perceived the exposure of ergonomic factors in terms of awkward posture and repetitive posture. These included: neck flexion 100%, body bending 98.11%, sitting on the floor or a chair without a backrest 96.86%, body twisting and prolong sitting over one hour per day 96.23%, and wrist flexion 74.84%. Base on RULA, the study sample had risk associated with working posture at level 4 (44.02%), which requires an immediate action for improvement, and at level 3 (47.80%), which requires action as soon as possible for improvement. The rates of musculoskeletal disorders among the study samples during the past 12 month and 7 day were 86.79% and 57.23% respectively, which was most commonly found in the lower back. The results of this study indicated that occupational and health nurses and other members of a multidisciplinary team should recognize the importance of risk communication concerning the posture of workers. This is anticipated to raise awareness and reduce the occurrence of musculoskeletal disorders. Further, an enhancement of the quality of working life should be addressed through the development of a health project to reduce risk and promote health among bamboo handicraft workers.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectปัจจัยด้านการยศาสตร์en_US
dc.subjectอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อen_US
dc.subjectแรงงานหัตถกรรมไม้ไผ่en_US
dc.titleปัจจัยด้านการยศาสตร์และอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ในแรงงานหัตถกรรมไม้ไผ่en_US
dc.title.alternativeErgonomic Factors and Musculoskeletal Disorders Among Bamboo Handicraft Workersen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.