Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68688
Title: ความสุขของผู้สูงวัย: ความหมายจากการงาน
Other Titles: Happiness of the Elderly: Meaning Through Works
Authors: ผ่องนภา คิดหา
Authors: ผ่องนภา คิดหา
Keywords: ความสุข;ผู้สูงวัย;ความหมายจากการงาน
Issue Date: 2562
Publisher: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: มนุษยศาสตร์สาร 20,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2562) 174-199
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ความหมายของความสุขจากแก่นประสบการณ์ของผู้สูงวัยที่ยังคงรักในการทำงาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) แบบปรากฎการณ์วิทยา (Phenomenology study) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงวัยที่ยังรักในการทำงาน 8 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มต้นวิเคราะห์ภายหลังจากการเก็บข้อมูลทุกครั้งโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สะท้อนผลการวิจัยทำให้เห็นประเด็นหลัก 2 ประเด็น ได้แก่ ความเป็นมาของผู้สูงวัยที่ยังคงรักในการทำงาน และความหมายของความสุขจากการทำงาน ประเด็นแรก ความเป็นมาของผู้สูงวัยที่ยังรักในการทำงาน เป็นการบรรยายถึงชีวิตของผู้ให้ข้อมูลหลักแต่ละท่านในการดำเนินชีวิตและการทำงาน เป็นประสบการณ์ชีวิตของผู้ให้ข้อมูลหลักที่บ่มเพาะมาอย่างยาวนาน ส่วนประเด็นที่สอง ความหมายของความสุขจากการทำงานที่ได้กลั่นกรองจากประสบการณ์ของผู้สูงวัยทั้ง 8 ท่าน มี 6 ประเด็น ได้แก่ 1. ความสุขจากความภูมิใจ 2. สุขที่ได้ทำงานที่รักและถนัด 3. สุขจากการมีมิตรภาพที่ดีในที่ทำงาน 4. สุขที่มีโอกาสได้แบ่งปัน 5. ความสุขคือสนุกกับงานที่ทำ และ 6. สุขเพราะได้ทำงานไม่ได้อยู่เฉยๆ ความสุขของผู้สูงวัยคือการที่ยังคงทำงานอย่างมีความสุข เป็นความสุขจากคุณค่าของงานที่ทำและการรับรู้ว่าตนเองยังมีความหมายกับโลกใบนี้ บุตรหลานควรสนับสนุนให้ผู้สูงวัยได้ทำในสิ่งที่รัก และได้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเหมาะสมกับวัย และควรขยายผลไปสู่ความเข้าใจของบุคคลทั่วไปในสังคมไทยถึงประเด็นความสุขของผู้สูงวัยที่มีใจรักในการงาน และเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่การสูงวัยอย่างมีความสุข The purpose of this research was to study the meaning of happiness based on the experiences of elderly people who still desired to work. Phenomenology study, an approach to the qualitative research, was employed. In-depth interviews were conducted with 8 elderly people who still desired to work in old age. The initial data analysis was carried out through content analysis after all relevant data was gathered. The derived analysis reflected 2 key points: the background of the elderly who still desired to work and the meaning of happiness in work. The first point explained life according to each informant in terms of the waysof life and working. It concerned the experience the informant had gained over a long time. The second point showed the meaning of happiness as derived from the working experience of 8 elderly participants. There were 6 aspects in this study covering 1) happiness from prime, 2) happiness in fascinating and skillful working, 3) happiness from good relationships in the workplace, 4) happiness from having shared possibility, 5) happiness from enjoyment in work, and 6) happiness in working because of having something to do.The results revealed that the happiness of the elderly came from working happily. It was happiness derived from the value of work and the perception that what they did had some meaning on this earth. Their descendants should support them to work and get to do what they love as well as enhancing their capacity and suitability for their age. Besides, other people in Thailand should understand happiness from the viewpoint of elderly who still desire to work. This could be a guideline to prepare readiness for people to be happier when they are elderly.
Description: มนุษยศาสตร์สาร เป็นวารสารที่ออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง โดยตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน
URI: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/217791/159272
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68688
ISSN: 2630-0370
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.