Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67500
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปิยวรา กาจารี | en_US |
dc.contributor.author | ฉวีวรรณ ธงชัย | en_US |
dc.contributor.author | มยุลี สำราญญาติ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:46:51Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:46:51Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 46,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2562) 138-148 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/230342/156779 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67500 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | ผู้ป่วยหลังจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วยหนัก มีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และการกลับเข้ารักษาซ้ำในหอผู้ป่วยหนักภายใน 72 ชั่วโมง เนื่องจากความรุนแรงของการเจ็บป่วยวิกฤตและความซับซ้อนของการดูแล การวิจัยแบบทดลองแบบสองกลุ่มวัดหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการวางแผนจำหน่ายอย่างสมบูรณ์แบบจากหอผู้ป่วยหนักต่อเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และการกลับเข้ารักษาซ้ำในหอผู้ป่วยหนักภายใน 72 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกจากผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักทั่วไป โรงพยาบาลลำปาง ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จำนวน 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม25 ราย และกลุ่มทดลอง 25 ราย จัดกลุ่มตัวอย่างให้มีความเคียงกันในด้านความรุนแรงของการเจ็บป่วยวิกฤตและลักษณะการจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วยหนัก กลุ่มทดลองได้รับการวางแผนจำหน่ายอย่างสมบูรณ์แบบจากหอผู้ป่วยหนัก ตามแผนการจำหน่ายอย่างสมบูรณ์แบบสำหรับหอผู้ป่วยหนักที่พัฒนาโดย researcher et al., (2013) ภายใต้กรอบแนวคิดการวางแผนจำหน่ายของ Mckeehan (1981) และการทบทวนวรรณกรรมประกอบด้วย แผนการจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยวิกฤต การบริการดูแลผู้ป่วยวิกฤตภายหลังการจำหน่าย และการประสานความร่วมมือในการดูแลโดยพยาบาลวิกฤตผู้ทำหน้าที่วางแผนจำหน่ายในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการวางแผนจำหน่ายตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจำหน่ายอย่างสมบูรณ์แบบสำหรับหอผู้ป่วยหนัก และแบบบันทึกผลลัพธ์ ซึ่งครอบคลุมแบบบันทึกเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และการกลับเข้ารักษาซ้ำในหอผู้ป่วยหนักภายใน 72 ชั่วโมงพัฒนาโดยผู้วิจัย ความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือวิจัย ได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ แบบบันทึกผลลัพธ์ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.0 ความเป็นไปได้และความเหมาะสมของแผนการจำหน่ายอย่างสมบูรณ์แบบสำหรับหอผู้ป่วยหนัก พบว่าสามารถนำไปใช้ในหน่วยงานได้ การตรวจสอบความเชื่อมั่นของผู้วิจัยในการบันทึกผลลัพธ์กับพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยวิกฤต ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติทดสอบไค-สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม โดยปัญหาการหายใจ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) การติดเชื้อ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และการได้รับสารละลายมากเกินความจำเป็น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มสำหรับการกลับเข้ารักษาซ้ำหลังจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วยหนักภายใน 72 ชั่วโมงจากผลการศึกษาผู้วิจัยเสนอแนะว่า ควรมีการศึกษาผลของการวางแผนจำหน่ายอย่างสมบูรณ์แบบจากหอผู้ป่วยหนักต่อการกลับเข้ารักษาซ้ำในหอผู้ป่วยหนักภายใน 72 ชั่วโมง ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วยหนักก่อนเวลาอันควร เพื่อให้มีหลักฐานเพียงพอในการทบทวนวรรณกรรม และเพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการดูแลอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยวิกฤตต่อไป | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ผู้ป่วยวิกฤต | en_US |
dc.subject | การวางแผนจำหน่ายจากหอผู้ป่วยหนัก | en_US |
dc.subject | เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ | en_US |
dc.subject | การกลับเข้ารักษาซ้ำในหอผู้ป่วยหนัก | en_US |
dc.title | ผลของการวางแผนจำหน่ายอย่างสมบูรณ์แบบจากหอผู้ป่วยหนัก ต่อเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และการกลับเข้ารักษาซ้ำในหอผู้ป่วยหนัก | en_US |
dc.title.alternative | Effects of Comprehensive Discharge Planning From an Intensive Care Unit on Adverse Events and Intensive Care Unit Readmission | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.