Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67493
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเจิดนภา แสงสว่างen_US
dc.contributor.authorบังอร ศุภวิทิตพัฒนาen_US
dc.contributor.authorพรรณพิไล ศรีอาภรณ์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2562) 59-69en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/229971/156524en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67493-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในระยะหลังคลอดมีความสำคัญต่อมารดาวัยรุ่น การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมจะส่งผลให้มารดาวัยรุ่นมีสุขภาพดี การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรม และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของการปฏิบัติพฤติกรรมกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาวัยรุ่นหลังคลอด 6-8 สัปดาห์ ที่มารับการตรวจหลังคลอดในคลินิกนรีเวชกรรมวางแผนครอบครัว และที่นำบุตรมาตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลหาดใหญ่และโรงพยาบาลสงขลา ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 จำนวน 85 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ประเมินใน 4 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรม และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของการปฏิบัติพฤติกรรม ที่ เจิดนภา แสงสว่าง บังอร ศุภวิทิตพัฒนาและพรรณพิไล ศรีอาภรณ์ สร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดของPender et al. (2011) และการทบทวนวรรณกรรมวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันผลการวิจัย พบว่า มารดาวัยรุ่นมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับมาก และมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวม139.58 (S.D. = 20.64) มารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.59) มีการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก และมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวม 148.84 (S.D. = 24.47) มารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 51.76) มีการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง และมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวม 89.82 (SD = 33.67) มารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62.35) มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของการปฏิบัติพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก และมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวม 128.94 (SD = 19.05) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของการปฏิบัติพฤติกรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .746, r= .856, p < .01 ตามลำดับ) และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่นและเป็นข้อมูลสำหรับการวิจัยในลำดับต่อไป เพื่อได้แนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของมารดาวัยรุ่นen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมen_US
dc.subjectการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมen_US
dc.subjectการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของการปฏิบัติพฤติกรรมen_US
dc.subjectพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectมารดาวัยรุ่นen_US
dc.subjectระยะหลังคลอดen_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของมารดาวัยรุ่นen_US
dc.title.alternativeFactors Related to Health Promoting Behaviors Among Adolescent Mothersen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.