Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67492
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์en_US
dc.contributor.authorลินจง โปธิบาลen_US
dc.contributor.authorทศพร คำผลศิริen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2562) 108-121en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/230308/156761en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67492-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นความเจ็บป่วยเรื้อรังที่สำคัญและพบบ่อยในผู้สูงอายุ การจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อคุณภาพชีวิตและอัตราการกลับมารักษาซ้ำของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ที่มารับการรักษาที่ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 255 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ที่คัดเลือกโดยการสุ่มจากผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดจำนวน 44 ราย สุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง 22 ราย กลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองระยะเวลา 6 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 2 ชั่วโมง 30 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวของมินนิโซต้า และแบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบค่าที และสถิติทดสอบค่าซีผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีคุณภาพชีวิตดีกว่าก่อนได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเองมีคุณภาพชีวิตดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)ส่วนอัตราการกลับมารักษาซ้ำต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .001)ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การส่งเสริมการจัดการตนเองท�าให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีแนวโน้มที่จะลดการกลับมารักษาซ้ำ ดังนั้นพยาบาลสามารถนำวิธีการส่งเสริมการจัดการตนเองของการศึกษานี้มาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถดูแลตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการส่งเสริมการจัดการตนเองen_US
dc.subjectการจัดการตนเองen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectอัตราการกลับมารักษาซ้ำen_US
dc.subjectผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวen_US
dc.titleผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อคุณภาพชีวิตและอัตราการกลับมารักษาซ้ำของผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวen_US
dc.title.alternativeEffects of Self-management Enhancement on Quality of Life and Rehospitalization Rate Among Elderly with Heart Failureen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.