Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67488
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเสาวลักษณ์ หวังชมen_US
dc.contributor.authorปิยะนุช ชูโตen_US
dc.contributor.authorกรรณิการ์ กันธะรักษาen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2562) 94-107en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/230282/156759en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67488-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractน้ำหนักตัวคงค้างหลังคลอด เป็นภาวะที่มารดามีนหนักตัวปัจจุบันในระยะหลังคลอดเพิ่มขึ้นมาจากการตั้งครรภ์เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักตัวก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลกระทบทางลบทั้งด้านร่างกายและจิตใจการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจกิจกรรมทางกาย คุณภาพของอาหาร การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา และน้ำหนักตัวคงค้างในมารดาหลังคลอด 6 เดือน และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัยนี้กับน้ำหนักตัวคงค้างในมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างคือมารดาหลังคลอด 6 เดือนที่มีน้ำหนักตัวหลังคลอดมากกว่าน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ ที่พาบุตรมารับวัคซีนที่ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอกกุมารกองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และคลินิกสุขภาพเด็กดี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีจำนวน 102 ราย ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามการทำกิจกรรมทางกายที่ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบสอบถามการทำกิจกรรมทางกายของหญิงมีครรภ์ของSupavititpatana (2010) แบบบันทึกการบริโภคอาหารย้อนหลังใน 24 ชั่วโมง และแบบสอบถามการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาที่ผู้วิจัยพัฒนามาจากแนวคิดของ Baker et al.(2008) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 77.45 มีคุณภาพของอาหารอยู่ในระดับเหมาะสม ร้อยละ 59.80 เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 47.06 กลุ่มตัวอย่างมีน้ำหนักตัวคงค้างหลังคลอด 6 เดือน มากกว่าหรือเท่ากับ 5 กิโลกรัม ร้อยละ 35.29 กิจกรรมทางกายไม่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวคงค้างหลังคลอด 6 เดือน คุณภาพของอาหารมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับน้ำหนักตัวคงค้างในมารดาหลังคลอด (r = .714, p = < .01) การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับน้ำหนักตัวคงค้างในมารดาหลังคลอด (r = -.220, p = < .05) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าควรมีการจัดโปรแกรมโดยนำความรู้ในเรื่องคุณภาพของอาหารและการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดามาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่แนะนำให้กับมารดาหลังคลอด เพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักตัวคงค้างต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectกิจกรรมทางกายen_US
dc.subjectคุณภาพของอาหารen_US
dc.subjectการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาen_US
dc.subjectน้ำหนักตัวคงค้างen_US
dc.subjectมารดาหลังคลอด 6 เดือนen_US
dc.titleกิจกรรมทางกาย คุณภาพของอาหาร การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา และน้ำหนักตัวคงค้างในมารดาหลังคลอด 6 เดือนen_US
dc.title.alternativePhysical Activity, Dietary Quality, Breastfeeding and Weight Retention Among 6 Month Postpartum Mothersen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.