Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67485
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลัน |
Other Titles: | Relationship Between Uncertainty in Illness and Coping Among Caregivers of Children with Acute Illness |
Authors: | สุธิศา ล่ามช้าง ฐิติมา สุขเลิศตระกูล อรพินท์ จันทร์ปัญญาสกุล |
Authors: | สุธิศา ล่ามช้าง ฐิติมา สุขเลิศตระกูล อรพินท์ จันทร์ปัญญาสกุล |
Keywords: | ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย;การเผชิญความเครียด;ผู้ดูแล;เด็กป่วยเฉียบพลัน |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 46,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2562) 1-12 |
Abstract: | ผู้ดูแลที่อยู่กับความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของเด็กป่วยเฉียบพลัน ส่งผลด้านลบต่อการเผชิญความเครียด การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย การเผชิญความเครียด และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงคือ ผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันอายุ 1 เดือน ถึง 6 ปี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความรู้สึกไม่แน่นอนเกี่ยวกับความเจ็บป่วยเฉียบพลันในเด็กของบิดามารดา และแบบสอบถามการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลัน ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เท่ากับ 0.83 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา คะแนนสัมพัทธ์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนผลการศึกษาพบว่า1. ผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของเด็กโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x_ = 74.72, SD= 17.72) และความรู้สึกไม่แน่นอนรายด้านคือ 1. ความคลุมเครือเกี่ยวกับความรุนแรงของความเจ็บป่วย ( x_ = 21.21, S.D.= 5.37) 2. การไม่สามารถทำนายการดำเนินของโรค ( x_ = 15.19, S.D.= 4.18) 3. ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดการที่เหมาะสม ( x_ = 14.13, S.D.=4.77) 4. การขาดข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุความเจ็บป่วย ( x_ = 12.95, S.D.=3.18) 5. ความต่างของการตัดสินใจกับบุคลากรทีมสุขภาพ ( x_ = 11.23, S.D.=3.65) มีค่าเฉลี่ยคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง2. ผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันใช้วิธีการเผชิญความเครียดมากกว่าหนึ่งวิธีและวิธีที่ใช้มากที่สุดคือ การเผชิญกับปัญหา (คะแนนสัมพัทธ์เท่ากับ 0.43) รองลงมาคือ การแก้ไขปัญหาทางอ้อม (คะแนนสัมพัทธ์ เท่ากับ 0.36) และการจัดการกับอารมณ์ (คะแนนสัมพัทธ์ เท่ากับ 0.20) ตามลำดับ 3. ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันมีความสัมพันธ์กับการเผชิญปัญหาทางลบในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = - 0.33, p < .05) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าพยาบาลควรตระหนักถึงความสำคัญของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันเพื่อส่งเสริมให้ผู้ดูแลเด็กพัฒนาวิธีการเผชิญความเครียดที่เหมาะสม |
Description: | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/229907/156495 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67485 |
ISSN: | 0125-5118 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.