Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67480
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | มยุรัชฎ์ พิพัฒภาสกร | en_US |
dc.contributor.author | ประภาพรรณ เต็มกิจถาวร | en_US |
dc.contributor.author | ชัญญานุช ธีนวงศ์ | en_US |
dc.contributor.author | รัตจิต ตัณฑเสน | en_US |
dc.contributor.author | อรรจาภัคร์ วงศวิริยะ | en_US |
dc.contributor.author | อรวี ดำรงค์วานิช | en_US |
dc.contributor.author | กาญจ์หทัย ไชยล้อม | en_US |
dc.contributor.author | นาตยา ล้อพงศ์พาณิช | en_US |
dc.contributor.author | ปานฝัน ทองเป็นใหญ่ | en_US |
dc.contributor.author | วาทิศ เดชพงษ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:46:51Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:46:51Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,1 (ม.ค.-เม.ย. 2561) 61-74 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-6920 | en_US |
dc.identifier.uri | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_1_470.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67480 | - |
dc.description | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ยับยั้งและฆ่าเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ของสารสกัดสมอพิเภกแห้งในแฟรกชั่นไดคลอโรมีเทน รวมทั้งหาความเป็นพิษต่อเซลล์และ หาความเข้มข้นสูงสุดของสารสกัดสมอพิเภกแห้งในแฟรกชั่นไดคลอโรมีเทนที่ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์สร้างเส้นใยจากเหงือกมนุษย์นำสารสกัดหยาบของสมอพิเภกแห้งในเอทานอลมาแยกสารด้วยเทคนิคการสกัดของเหลวด้วยของเหลวโดยสามารถแยกออกได้ 5 แฟรกชั่นตามความมีขั้วของสารได้แก่ แฟรกชั่นเฮกเซน แฟรกชั่นไดคลอโรมีเทน แฟรกชั่นเอทิล อะซีเตต แฟรกชั่นบิวทานอล และแฟรกชั่นน้ำ นำสารสกัดสมอพิเภกแห้งแต่ละแฟรกชั่นมาทดสอบหาฤทธิ์ ยับยั้งและฆ่าเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ (สายพันธุ์ ATCC 90028) พบว่ามีเฉพาะแฟรกชั่นไดคลอโรมีเทนที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์เท่านั้น จึงนำความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดสมอพิเภกแห้งในแฟรกชั่นไดคลอโรมีเทนที่สามารถยับยั้งเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ ทดสอบด้วยวิธีดิสก์ ดิฟฟิวชั่น และทดสอบฤทธิ์ยับยั้งและฆ่าเชื้อแคนดิดาอัลบิแคนส์ ด้วยวิธีไมโครบรอท ไดลูชั่น พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ได้ร้อยละ 96.51 ที่ความ เข้มข้น 20 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรและฆ่าเชื้อแคนดิดาอัลบิแคนส์ได้มากกว่าร้อยละ 99.93 ที่ความเข้มข้น 25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรนำชิ้นเหงือกที่ได้จากการผ่าฟันคุดจากอาสาสมัคร 3 คน มาทำการเพาะเลี้ยง จากนั้นนำเซลล์สร้างเส้นใยจากเหงือกมนุษย์มาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัดสมอพิเภกแห้งในแฟรกชั่นของไดคลอโรมีเทน โดยเติมสารสกัดสมอพิเภกแห้งในแฟรกชั่นของไดคลอโรมีเทนความเข้มข้นต่าง ๆ ในอาหารเลี้ยงเซลล์สร้างเส้นใยเหงือก แล้วเพาะเลี้ยงต่อเป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยมีกลุ่มที่ใช้เพียงอาหารเลี้ยงเซลล์ชนิดปราศจากซีรัมเป็นกลุ่มควบคุม นำเซลล์กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ไปทำการทดสอบความมีชีวิตของ เซลล์ด้วยเทคนิคเอ็มทีที จากนั้นนำไปวัดค่าดูดกลืนแสงด้วยเครื่องไมโครเพลตรีดเดอร์ในช่วงความยาวคลื่นแสง 570 นาโนเมตร พบว่ากลุ่มเซลล์ที่ได้รับสารสกัดเข้มข้น 625 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เป็นความเข้มข้นที่มากที่สุดที่ไม่มีพิษต่อเซลล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p≥0.01) แต่ในขณะที่ความสามารถในการฆ่าเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ได้นั้นอยู่ที่ความเข้มข้นของสารสกัดที่ 25,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาเกี่ยวกับสารสกัดของผลสมอพิเภกแห้งเพิ่มเติม และระมัดระวังหากต้องการนำมาพัฒนาเป็นตำหรับยารักษาโรคเชื้อราในช่องปากต่อไป | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | แคนดิดา | en_US |
dc.subject | อัลบิแคนส | en_US |
dc.subject | สมอพิเภก | en_US |
dc.subject | ความเป็นพิษ | en_US |
dc.title | ฤทธิ์ต้านเชื้อราและความเป็นพิษต่อเซลล์สร้างเส้นใยจากเหงือกมนุษย์ของสารสกัดในแฟรกชั่นของไดคลอโรมีเทนจากผลสมอพิเภกแห้ง | en_US |
dc.title.alternative | Antifungal Activity and Cytotoxicity to Human Gingival Fibroblast of Terminalia Bellirica Compounds in Dichloromethane Fraction | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.