Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67476
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสาครรัตน์ คงขุนเทียนen_US
dc.contributor.authorประกายมุกด์ สาหร่ายทองen_US
dc.contributor.authorพรรณวดี พันธัยen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:51Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,2 (พ.ค.-ก.ย. 2561) 119-132en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_2_490.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67476-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของเชื้อแอกกรีเกรทิแบคเทอร์ แอคทิโนมัยซีเทมโคมิแทนส์ ซีโรไทป์ต่าง ๆเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิส และเชื้อแทนเนอเรลลา ฟอร์ซัยเธีย รวมทั้งตรวจยีนที่กำหนดการสร้างปัจจัยความรุนแรงของเชื้อจากผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบชนิดก้าวร้าวโรคปริทันต์อักเสบชนิดเรื้อรัง และโรคเหงือกอักเสบ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: นำตัวอย่างคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือกของผู้ป่วยโรคปริทันต์ทั้ง 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คนมาตรวจหาเชื้อและยีนกำหนดการสร้างปัจจัยความรุนแรงของเชื้อด้วยวิธีวิธีพีซีอาร์แบบพื้นฐาน วิธีเนสเต็ทพีซีอาร์และวิธีมัลติเพล็กพีซีอาร์ผลการศึกษา: ตรวจพบเชื้อแอกกรีเกรทิแบคเทอร์แอคทิโนมัยซีเทมโคมิแทนส์ได้มากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบชนิดก้าวร้าวอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบซีโรไทป์ซีมากที่สุด เมื่อเรียงลำดับผู้ป่วยตามกลุ่มโรค ได้แก่ ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบชนิดก้าวร้าว โรคปริทันต์อักเสบชนิดเรื้อรัง และโรคเหงือกอักเสบ ตรวจพบยีนที่มีการสร้างไซโตลีธัลดิสเทนดิงท็อกซิน (ซีดีทียีน) ครบทั้ง 3 ยีน (เอ บี และซี) ได้ร้อยละ 56.3, 50 และ 44.4 ตามลำดับ สำหรับเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิสพบว่ามีความชุกร้อยละ 85,75 และ 85 ตามลำดับ โดยมียีนกำหนดการสร้างฟิมเบรีย (ฟิมเอยีน) ร่วมกับยีนกำหนดการสร้างเอนไซม์คอลลาจีเนส (พีอาร์ทีซียีน) ร้อยละ 58.8, 80 และ 52.9 ตามลำดับ ส่วนเชื้อแทนเนอเรลลา ฟอร์ซัยเธียพบว่ามีความชุกสูงในทุกกลุ่มตัวอย่างคือร้อยละ 100, 100 และ 90 ตามลำดับโดยพบยีนกำหนดการสร้างเอนไซม์ซิสเทอีน โปรติเอส (พีอาร์ทีเอชยีน) ร้อยละ 90, 80 และ 72.2 ตามลำดับ สรุป: ตรวจพบความชุกของเชื้อก่อโรคปริทันต์ทั้ง 3 ชนิดในผู้ป่วยทุกกลุ่ม พบเชื้อแอกกรีเกรทิแบคเทอร์แอคทิโนมัยซีเทมโคมิแทนส์อย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มผู้ป่วย โรคปริทันต์อักเสบชนิดก้าวร้าว โดยเฉพาะซีโรไทป์ซี ส่วนยีนที่กำหนดการสร้างปัจจัยความรุนแรง พบซีดีทียีนและพีอาร์ทีเอชยีนในกลุ่มผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบชนิดก้าวร้าวมากที่สุด ในขณะที่พบฟิมเอยีนและพีอาร์ทีซียีนในกลุ่มผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบชนิดเรื้อรังมากที่สุด อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแบคทีเรียก่อโรคปริทันต์en_US
dc.subjectโรคปริทันต์อักเสบen_US
dc.subjectยีน กำหนดการสร้างปัจจัยความรุนแรงen_US
dc.subjectซีดีทียีนen_US
dc.subjectพีอาร์ทีเอชยีนen_US
dc.subjectฟิมเอยีนen_US
dc.subjectพีอาร์ทีซียีนen_US
dc.titleความชุกของเชื้อก่อโรคปริทันต์ 3 สายพันธุ์และยีนที่สร้างปัจจัยความรุนแรงen_US
dc.title.alternativePrevalence of Three Periodontal Pathogens and Virulence Factor Producing Genesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.