Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67465
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเตชิต ทรัพย์สมบูรณ์en_US
dc.contributor.authorพิริยะ ยาวิราชen_US
dc.contributor.authorพิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,2 (พ.ค.-ก.ย. 2561) 31-46en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_2_483.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67465-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: ศึกษาผลของวิธีการเตรียมพื้นผิวเซอร์โคเนียชนิดวายทีซีพีที่แตกต่างกัน ต่อความแข็งแรงยึดเฉือนกับวัสดุยึดติดชนิดเรซินวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: เตรียมชิ้นงานแผ่นเซอร์โคเนียชนิดวายทีซีพี ลักษณะแผ่นสี่เหลี่ยมขนาด 7 x 7 x 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร จำนวน 120 ชิ้น สุ่มแบ่งตามการเตรียมพื้นผิวที่แตกต่างกัน 6 กลุ่ม กลุ่มละ 20 ชิ้น ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ทำการเตรียมพื้นผิวด้วยการเป่าทรายด้วยอนุภาคอลูมินาขนาด 50 ไมครอน ที่ความดันบรรยากาศ 4 บาร์ เป็นเวลา 20 วินาที กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ทำการเตรียมพื้นผิวด้วยกรดไฮโดรฟลูออริกความเข้มข้นร้อยละ 48 เป็นเวลา 15 นาที กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ทำการเตรียมพื้นผิวด้วยสารละลายปิรันยาเป็นเวลา 1 นาที กลุ่มที่ 5 กลุ่มที่ทำการเตรียมพื้นผิวด้วยการเป่าทรายด้วยอนุภาคอลูมินาขนาด 50 ไมครอน ร่วมกับกรดไฮโดรฟลูออริกความเข้มข้นร้อยละ 48 กลุ่มที่ 6 กลุ่มที่ทำการเตรียมพื้นผิวด้วยการเป่าทรายด้วยอนุภาคอลูมินาขนาด 50 ไมครอนร่วมกับสารละลายปิรันยา ยึดชิ้นงานด้วยวัสดุยึดติดชนิดเรซินรีไลน์เอกซ์ยูสองร้อย นำชิ้นงานแช่ในน้ำกลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำไปทดสอบความแข็งแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบสากล ที่ความเร็วหัวตัด 0.5 มิลลิเมตรต่อนาทีนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติเปรียบเทียบความแข็งแรงยึดเฉือนโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวร่วมกับจำแนกรูปแบบการเสียสภาพแต่ละตัวอย่างด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่กำลังขยาย 40 เท่า ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนของเซอร์โคเนียชนิดวายทีซีพีในกลุ่มที่ได้รับการเตรียมพื้นผิวด้วยการเป่าทรายด้วยอนุภาคอลูมินาขนาด 50 ไมครอนร่วมกับกรดไฮโดรฟลูออริกความเข้มข้นร้อยละ 48 มีค่าสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) บทสรุป: การเตรียมพื้นผิวเซอร์โคเนียชนิดวายทีซีพีด้วยวิธีที่แตกต่างกันมีผลต่อค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนและลักษณะของพื้นผิว โดยกลุ่มที่ได้รับการเตรียม พื้นผิวด้วยการเป่าทรายด้วยอนุภาคอลูมินาขนาด 50 ไมครอนร่วมกับกรดไฮโดรฟลูออริกความเข้มข้นร้อยละ 48มีค่าความแข็งแรงยึดเฉือน และลักษณะจุลภาคของพื้นผิวที่มีความขรุขระมากที่สุดen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectวัสดุยึดติดชนิดเรซินen_US
dc.subjectความแข็งแรงยึดเฉือนen_US
dc.subjectการเตรียมพื้นผิวen_US
dc.subjectเซอร์โคเนียชนิดวายทีซีพen_US
dc.titleผลของการเตรียมพื้นผิวที่แตกต่างกันต่อค่าความแข็งแรงยึดเฉือน ระหว่างเซอร์โคเนียชนิดวายทีซีพีกับวัสดุยึดติดชนิดเรซินen_US
dc.title.alternativeEffect of Different Surface Treatments on Shear Bond Strength of Zirconia Y-TZP Bonded with Resin Cementen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.