Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67464
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจุฑารินทร์ ศรีเจริญen_US
dc.contributor.authorศศิธร ไชยประสิทธิ์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 39,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2561) 117-132en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2561_39_3_500.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67464-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก เพื่อศึกษาการให้ความหมายและประสบการณ์การดูแลตนเองใน มุมมองของผู้ป่วยที่มีสภาวะปากแห้งที่มารับบริการในโรงพยาบาลแม่ทา จ.ลำพูน จำนวน 10 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2559 โดยกรณีศึกษาส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยมากกว่าห้าสิบปีขึ้นไปมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาพบว่ากรณีศึกษาทุกคนเห็นว่าสภาวะปากแห้งเป็นปรากฏการณ์ที่รบกวนต่อชีวิตประจำวันและมีการให้ความหมายต่อสภาวะดังกล่าวในห้าประเด็น ได้แก่หนึ่งเป็นสภาวะปกติธรรมดา สองเป็นอาการปรากฏหนึ่งของความเจ็บป่วยทางกายที่เป็นอยู่ สามเป็นความรู้สึกสูญเสีย สี่เป็นสัญญาณของโรครุนแรงบางอย่าง และห้าเป็นตัวบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพร่างกายในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งแต่ละคนอาจมีการให้ความหมายในหลายรูปแบบได้ ทั้งนี้กรณีศึกษามีการรับรู้อาการปากแห้งได้ในแบบชั่วคราวหรือถาวร และได้รับผลกระทบจากสภาวะปากแห้งที่มีต่อด้านกาย ใจ สังคมโดยผู้ที่มีอาการปากแห้งได้มีการแสวงหาการรักษา และปฏิบัติตนตามการอธิบายโรคของตนเอง รวมถึงมีการปรับพฤติกรรมและเงื่อนไขชีวิตเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับสภาวะปากแห้งได้ ทั้งนี้แต่ละคนก็จะมีการสังเกตและค้นพบรูปแบบในการดูแลตนเองที่มีความเหมาะสมกับแต่ละตัวบุคคลภายใต้การบูรณาการจากหลาย ๆ วิธี โดยส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าอาการปากแห้งของตนดีขึ้นและยังคงปฏิบัติตามพฤติกรรมการดูแลตนเองตามที่เคยทำมาอยู่อย่างเป็นกิจวัตร รวมถึงพยายามดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นข้อค้นพบจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสภาวะปากแห้งเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพช่องปากที่มีความสัมพันธ์ต่อสุขภาพและชีวิตโดยรวมของผู้ป่วย ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความสำคัญต่อทัศนะของผู้ป่วยมากขึ้นเพื่อการดูแลสุขภาพร่วมกันอย่างเข้าใจระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสภาวะปากแห้งen_US
dc.subjectการให้ความหมายen_US
dc.subjectการดูแล ตนเองen_US
dc.titleสภาวะปากแห้ง: การให้ความหมายและประสบการณ์การดูแลตนเองในทัศนะของผู้ป่วยen_US
dc.title.alternativeXerostomia: Subjective Meanings and Self Care Experiences in the Perspective of Patientsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.