Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67434
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อริสรา สวัสดิ์พาณิชย์ | en_US |
dc.contributor.author | สุสัณหา ยิ้มแย้ม | en_US |
dc.contributor.author | นงลักษณ์ เฉลิมสุข | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:46:50Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:46:50Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 219-231 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218567/151388 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67434 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์ต่อทั้งทารก มารดา และสังคม อย่างไรก็ตามมารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตรเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีอัตราในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวต่ำและมีระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สั้น การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวกับปัจจัยที่คัดสรรได้แก่การรับรู้ประโยชน์เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับรู้อุปสรรคที่มีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการปฏิบัติการพยาบาลมารดา-ทารก กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตรคนแรกในโรงพยาบาลตติยภูมิสองแห่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย จำนวน 144 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้และเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 ถึงเดือนมกราคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบการรับรู้ประโยชน์เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคที่มีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามปฏิบัติการดูแลมารดา-ทารก และแบบสอบถามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .87, .95, .93, .80 และ 1 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พอยท์-ไบซีเรียลผลการวิจัยพบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรกเท่ากับร้อยละ 33.3 ขณะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และร้อยละ 39.1 ที่หนึ่งเดือนแรกหลังคลอด โดยเหตุผลหลักในการให้นมผสมแก่ทารกคือ น้ำนมไม่เพียงพอ และการรับรู้ปฏิบัติการพยาบาลมารดา-ทารกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวขณะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (rpb=.359, p<.01) จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลผดุงครรภ์และผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพควรปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว โดยเฉพาะในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรก นอกจากนี้กิจกรรมและกลยุทธ์ควรจัดขึ้นโดยมุ่งเน้นการปฏิบัติการพยาบาลมารดา-ทารกตามบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโครงการโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูก เพื่อกระตุ้นให้มารดาประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว | en_US |
dc.subject | การปฏิบัติการพยาบาลมารดา-ทารก | en_US |
dc.subject | มารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตร | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวขณะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรก | en_US |
dc.title.alternative | Factors Influencing Exclusive Breastfeeding at Discharge Among First-Time Mothers Undergoing Cesarean Section | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.