Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67433
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพัณณ์ชิตา ดวงคิดen_US
dc.contributor.authorจุฑามาศ โชติบางen_US
dc.contributor.authorมาลี เอื้ออำนวยen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 181-194en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218562/151383en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67433-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractทารกเกิดก่อนกำหนดมักจะได้รับการกระตุ้นที่มากเกินไปจากสิ่งแวดล้อมภายในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดเนื่องจากเป็นสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างจากสภาพแวดล้อมในครรภ์ของมารดา ทำให้ส่งผลกระทบต่อระยะการนอนหลับของทารกเกิดก่อนกำหนด และส่งผลต่อการพัฒนาการของระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทสัมผัสที่ผิดปกติการห่อตัวเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ทารกเกิดก่อนกำหนดมีระยะการนอนหลับได้ยาวนานขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการห่อตัวและการได้รับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลต่อระยะเวลาหลับของทารกเกิดก่อนกำหนด โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุหลังปฏิสนธิระหว่าง 32-36 สัปดาห์ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 14 ราย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเดียวแบบไขว้ โดยกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาล และกลุ่มทดลองได้รับการห่อตัว ผู้วิจัยทำการสังเกตโดยการตั้งกล้องวีดิทัศน์เพื่อบันทึกภาพ ดูระยะการหลับของกลุ่มตัวอย่างและบันทึกระดับเสียง เป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมง ผู้วิจัยทำการสังเกตการหลับตื่น โดยประเมินจากคู่มือการประเมินพฤติกรรมการหลับตื่นของทารกเกิดก่อนกำหนดของ Thanacharoenpipat (2001) บันทึกข้อมูลลงในแบบบันทึกระยะเวลาการหลับตื่นของทารกเกิดก่อนกำหนดและบันทึกระดับเสียงลงในแบบบันทึกข้อมูลสิ่งแวดล้อมของ Kodyee (2015) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบทีของประชากร 2 กลุ่มที่ไม่อิสระต่อกันและสถิติทดสอบวิลคอกซันสำหรับตัวอย่างคู่ผลการศึกษาพบว่า1. ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการหลับรวมของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการห่อตัวมากกว่าเมื่อได้รับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)2. ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการหลับลึกของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการห่อตัวมากกว่าเมื่อได้รับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การห่อตัวสามารถส่งเสริมให้ทารกเกิดก่อนกำหนดมีระยะการหลับรวมและระยะการหลับลึกมากกว่าทารกที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานทางการพยาบาล และยังสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมระยะเวลาการนอนหลับของทารกเกิดก่อนกำหนดให้เพิ่มมากขึ้นen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการห่อตัวen_US
dc.subjectะยะการนอนหลับen_US
dc.subjectการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาล ทen_US
dc.subjectการกเกิดก่อนกำหนดen_US
dc.titleผลของการห่อตัวต่อระยะการนอนหลับของทารกเกิดก่อนกำหนดen_US
dc.title.alternativeEffect of Swaddling on Sleep Period of Preterm Infantsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.