Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67432
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมนทิรา ใหม่แก้วen_US
dc.contributor.authorอุษณีย์ จินตะเวชen_US
dc.contributor.authorจุฑารัตน์ มีสุขโขen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:50Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 195-206en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218564/151384en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67432-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการปฏิบัติหลังผ่าตัดของผู้ดูแลเด็กขณะนอนรักษาในโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วทำให้เด็กฟื้นสภาพหลังผ่าตัดได้เร็วขึ้นและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติ บรรทัดฐานของสังคม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและความตั้งใจในการปฏิบัติเพื่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ดูแลเด็ก และความสัมพันธ์ระหว่าง ทัศนคติ บรรทัดฐานของสังคมการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและความตั้งใจในการปฏิบัติเพื่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ดูแลเด็ก โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรมของ Ajzen (1991) ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมกลุ่มตัวอย่างเลือกเข้าตามเกณฑ์จำนวน 106 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3 แห่ง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลเด็กและเด็ก (2) แบบสอบถามความตั้งใจในการปฏิบัติเพื่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ดูแลเด็ก มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .87 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 และแบบสอบถามทัศนคติบรรทัดฐานของสังคม และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 ค่าความเชื่อมั่น ด้านทัศนคติ ด้านบรรทัดฐานของสังคม และด้านการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม คือ .85 .86 และ .72 ตามลำดับ ซึ่งแบบสอบถามทั้ง 2 ชุด ดัดแปลงมาจากแบบสอบถามของ Tourigny et al., (2005) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการศึกษาพบว่า1. กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีคะแนนความตั้งใจในการปฏิบัติเพื่อการฟื้อสภาพโดยรวมในระดับมาก ร้อยละ60.38 มีทัศนคติในการปฏิบัติเพื่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 100 มีบรรทัดฐานของสังคมในการปฏิบัติเพื่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดโดยรวมอยู่ในระดับสูง และร้อยละ 72.64 มีการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมในการปฏิบัติเพื่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง2. ทัศนคติความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความตั้งใจในการปฏิบัติเพื่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ดูแลเด็กในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .41, p < .01) บรรทัดฐานของสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความตั้งใจในการปฏิบัติเพื่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ดูแลเด็กในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .50, p < .01) ผลการวิจัยนี้ทำให้เข้าใจทัศนคติ บรรทัดฐานของสังคม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและความตั้งใจในการปฏิบัติเพื่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ดูแลเด็ก บุคลากรสุขภาพอาจใช้ข้อมูลนี้สำหรับวางแผนเพื่อช่วยเหลือผู้ดูแลเด็กและใช้ในการทำวิจัยต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectทัศนคติen_US
dc.subjectบรรทัดฐานของสังคมen_US
dc.subjectการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมen_US
dc.subjectและความตั้งใจในการปฏิบัติเพื่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดen_US
dc.titleทัศนคติ บรรทัดฐานของสังคม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและความตั้งใจในการปฏิบัติเพื่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ดูแลเด็กen_US
dc.title.alternativeAttitudes, Norms, Perceived Behavioral Control, and Intention to Practice for Postoperative Recovery Among Caregivers of Childrenen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.