Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67429
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศริยา ทองสว่าง | en_US |
dc.contributor.author | อุษณีย์ จินตะเวช | en_US |
dc.contributor.author | จุฑามาศ โชติบาง | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:46:50Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:46:50Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 207-218 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218565/151385 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67429 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีพยาธิสภาพที่จอประสาทตา มีระยะเวลาในการรักษาเป็นเวลานานอาจทำให้มารดาเกิดความโศกเศร้าเรื้อรังได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของความโศกเศร้าเรื้อรังและกลยุทธการจัดการความโศกเศร้าเรื้อรังของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีพยาธิสภาพที่จอประสาทตา กลุ่มตัวอย่าง เป็นมารดาที่ดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีพยาธิสภาพที่จอประสาทตาหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลอย่างน้อย 2 เดือน จำนวน 60 ราย เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความโศกเศร้าเรื้อรัง และแบบสอบถามการจัดการความโศกเศร้าเรื้อรังวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า มารดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีพยาธิสภาพที่จอประสาทตามีความโศกเศร้าเรื้อรังอยู่ในระดับปานกลาง และมีกลยุทธการจัดการความโศกเศร้าเรื้อรังอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งกลยุทธการจัดการความโศกเศร้าเรื้อรังของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีพยาธิสภาพที่จอประสาทตา มีดังนี้ 1. วิธีการจัดการภายในตนเอง คือ มารดาบอกกับตนเองว่าฉันสามารถทำได้หรือผ่านพ้นไปได้ การใช้วิธีการพูดคุยกับแพทย์หรือพยาบาล และการใช้วิธีการพูดคุยกับคนใกล้ชิด 2. วิธีการจัดการจากภายนอก คือการช่วยเหลือจากบุคลากรทีมสุขภาพ และการช่วยเหลือจากบุคคลในครอบครัวและเพื่อน 2.1 การช่วยเหลือจากบุคลากรทีมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเลือกตอบคือ บุคลากรทีมสุขภาพตอบคำถามตามความเป็นจริง ให้เวลากับมารดา และให้การดูแลทารกเป็นอย่างดีวิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต 2.2 การช่วยเหลือจากบุคคลในครอบครัวและเพื่อน กลุ่มตัวอย่างเลือกตอบคือ มารดาได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ได้รับการปลอบประโลมและให้กำลังใจ และรับฟังในสิ่งที่มารดาพูด ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทีมสุขภาพในการสร้าง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ข้อมูลกับมารดา และบุคคลใกล้ชิดของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีพยาธิสภาพที่จอประสาทตา เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการดูแลมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีพยาธิสภาพที่จอประสาทตา | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | กลยุทธการจัดการ | en_US |
dc.subject | ความโศกเศร้าเรื้อรัง | en_US |
dc.subject | ารกเกิดก่อนกำหนด | en_US |
dc.subject | พยาธิสภาพที่จอประสาทตา | en_US |
dc.title | ความโศกเศร้าเรื้อรังและกลยุทธการจัดการของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีพยาธิสภาพที่จอประสาทตา | en_US |
dc.title.alternative | Chronic Sorrow and Management Strategies Among Mothers of Preterm Infants with Retinopathy of Prematurity | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.