Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67427
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พัชรินทร์ น้อยสุวรรณ | en_US |
dc.contributor.author | วีระพร ศุทธากรณ์ | en_US |
dc.contributor.author | วันเพ็ญ ทรงคำ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:46:49Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:46:49Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 142-156 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218552/151373 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67427 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในกลุ่มเกษตรกรชาวนา ส่งผลกระทบต่อ การทำงานและการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน โปรแกรมโรงเรียนปวดหลังได้รับการยอมรับว่า สามารถช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่างและเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมโรงเรียนปวดหลังต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของเกษตรกรชาวนา ในเขตอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 64 ราย ดำเนินการทดลองตั้งแต่เดือนธันวาคมพ.ศ. 2557 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด และสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 31 ราย และกลุ่มควบคุม 33 ราย ทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในส่วนของเพศ และอายุ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมโรงเรียนปวดหลัง ประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนล่าง และการฝึกปฏิบัติท่าทางที่เหมาะสม ในชีวิตประจำวันและการทำงานการออกกำลังกาย และการจัดการอาการปวดหลังด้วยตนเอง ในขณะที่กลุ่มควบคุมปฏิบัติงานตามปกติเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินอาการปวดหลังส่วนล่าง และแบบวัดภาวะจำกัดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่จากภาวะปวดหลังส่วนล่างตามแบบสอบถาม Oswestry ฉบับภาษาไทย ซึ่งเป็นแบบประเมินมาตรฐาน ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ 0.80วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยอาการปวดหลังส่วนล่าง น้อยกว่าก่อนการทดลอง และมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ดีกว่าก่อนการทดลอง ในสัปดาห์ที่ 6 และสัปดาห์ที่ 12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยอาการปวดหลังส่วนล่างน้อยกว่ากลุ่มควบคุม และมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ดีกว่ากลุ่มควบคุมในสัปดาห์ที่ 6 และสัปดาห์ที่ 12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นประสิทธิผลของโปรแกรมโรงเรียนปวดหลังต่อการลดอาการปวดหลังส่วนล่าง และเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของเกษตรกรชาวนา พยาบาลอาชีวอนามัยรวมทั้งบุคลากร ด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมให้มีการจัดโปรแกรมโรงเรียนปวดหลังในกลุ่มเกษตรกรชาวนาที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | โปรแกรมโรงเรียนปวดหลัง | en_US |
dc.subject | อาการปวดหลังส่วนล่าง | en_US |
dc.subject | ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ | en_US |
dc.subject | ชาวนา | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมโรงเรียนปวดหลังต่ออาการปวดหลังส่วนล่างและความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ของเกษตรกรชาวนา | en_US |
dc.title.alternative | Effects of Back School Program on Low Back Pain and Functional Status in Rice Farmers | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.