Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67426
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอลงกรณ์ สุขเรืองกูลen_US
dc.contributor.authorทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์en_US
dc.contributor.authorจิราภรณ์ เตชะอุดมเดชen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:49Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:49Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 118-129en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218544/151367en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67426-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและรักษาด้วยการทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวนจำเป็นต้องมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของการรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และได้รับการทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน ที่มารับบริการที่ห้องตรวจโรคหัวใจ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557 จำนวน 106 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ 3) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่ได้รับหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน 4) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและได้รับการทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน 5) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจโคโรนารี่ และ 6) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยที่มารับการขยายหลอดเลือดหัวใจ โดยการใส่หลอดตาข่าย และได้ทำการทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของเครื่องมือทั้งหมดแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการศึกษา พบว่า การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และได้รับการทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวนได้ร้อยละ 57.20 (p< .001) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวนต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectโรคหลอดเลือดหัวใจen_US
dc.subjectการทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดen_US
dc.subjectโคโรนารีย์ผ่านสายสวนen_US
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและได้รับการทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวนen_US
dc.title.alternativeFactors Predicting Health Promoting Behaviors Among Persons with Coronary Artery Disease and Undergone Percutaneous Coronary Interventionen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.