Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67425
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักที่เน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารในนักศึกษาที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
Other Titles: Effectiveness of a weight control program focused on changing eating habits in overweight or obese students
Authors: อรรถพงษ์ ชุ่มเขียว
กาญจนา ทองบุญนาค
อุบล ชื่นสำราญ
ณัฐิยา ตันตรานนท์
Authors: อรรถพงษ์ ชุ่มเขียว
กาญจนา ทองบุญนาค
อุบล ชื่นสำราญ
ณัฐิยา ตันตรานนท์
Keywords: โปรแกรมควบคุมน้ำหนัก;การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร;น้ำหนักเกิน;โรคอ้วน
Issue Date: 2562
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 106-117
Abstract: ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักที่เน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารในนักศึกษาที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน สาขาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปางโดยการวิจัยมีกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาจำนวน 40 คนที่มีรอบเอวเกินมาตรฐาน (ชาย >90 ซม. และ หญิง >80 ซม.) และมีดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 23 กิโลกรัม/ตารางเมตร คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) โดยแบ่งเป็น กลุ่มควบคุม 20 คน และกลุ่มทดลอง 20 คน ซึ่งกลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรม 3 ครั้ง ในระยะเวลา 3 เดือน กิจกรรมประกอบด้วย การให้ความรู้ การอภิปรายกลุ่ม การแจกสื่อเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง การแจกรายการอาหาร และกิจกรรมกลุ่มโดยการจัดทัวร์ตลาดอัศวิน และซูเปอร์มาร์เก็ต ผลลัพธ์ที่ประเมิน คือ การเปลี่ยนแปลงของความรู้เรื่องอาหารกับการควบคุมน้ำหนัก ตัวแปรตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior; TPB) ความยาวรอบเอว น้ำหนักตัว และดัชนีมวลกาย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมควบคุมน้ำหนัก (กลุ่มทดลอง) มีคะแนนของความรู้เรื่องอาหารกับการควบคุมน้ำหนักมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) และมีคะแนนพฤติกรรมการควบคุมอาหาร ความตั้งใจในการควบคุมอาหาร การรับรู้ความสามารถในการควบคุมน้ำหนัก ทัศนคติต่อการควบคุมน้ำหนัก และความเชื่อในบรรทัดฐานของสังคมในการควบคุมอาหารมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) หลังจากเข้าร่วมการศึกษาเป็นระยะเวลา 3 เดือน กลุ่มทดลองมีการลดลงของความยาวรอบเอว น้ำหนักตัว และดัชนีมวลกายจากค่าเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมดังนั้นโปรแกรมควบคุมน้ำหนักที่เน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารในนักศึกษาที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วนสามารถส่งเสริม ความรู้ ความตั้งใจ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมน้ำหนัก และพฤติกรรมที่ดีในการควบคุมอาหารทำให้ความยาวรอบเอว น้ำหนักตัว และดัชนีมวลกายลดลงได้ภายใน 3 เดือน
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218540/151363
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67425
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.