Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67420
Title: | การแจ้งข่าวร้ายในการดูแลแบบประคับประคอง: การทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ |
Other Titles: | Breaking Bad News in Palliative Care: Integrative Review |
Authors: | กัญญาวีร์ สิริโรจนามณี ประทุม สร้อยวงค์ พิกุล พรพิบูลย์ |
Authors: | กัญญาวีร์ สิริโรจนามณี ประทุม สร้อยวงค์ พิกุล พรพิบูลย์ |
Keywords: | การแจ้งข่าวร้าย;การดูแลแบบประคับประคอง;การทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 71-81 |
Abstract: | การแจ้งข่าวร้ายเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเนื่องจากการแจ้งข่าวร้ายด้วยวิธีที่เหมาะสมจะส่งผลดีต่อทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว และบุคลากรทีมสุขภาพ การทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการแจ้งข่าวร้าย และผลของการแจ้งข่าวร้ายในการดูแลแบบประคับประคองโดยทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการแจ้งข่าวร้ายในการดูแลแบบประคับประคองทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2556 โดยใช้แนวทางการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (Joanna Briggs Institute, 2008) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบคัดกรองงานวิจัย 2) แบบประเมินคุณค่างานวิจัย และ 3) แบบบันทึกผลการสกัดข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของเอกสารรายงานวิจัย และการสรุปเชิงเนื้อหา จากการสืบค้นข้อมูลพบเอกสารรายงานการวิจัยตามเกณฑ์คัดเลือกจำนวน 6 เรื่อง ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 3 เรื่อง งานวิจัยเชิงบรรยายจำนวน 2 เรื่อง และงานวิจัยเชิงทดลองจำนวน 1 เรื่อง ผลการทบทวนพบว่า1. วิธีการแจ้งข่าวร้าย ผลการศึกษาครั้งนี้ยังไม่ได้วิธีการที่ชัดเจนในการแจ้งข่าวร้าย แต่ได้แนวทางในการแจ้งข่าวร้ายดังนี้ แพทย์ควรเป็นผู้แจ้งข่าวร้ายและควรแจ้งผู้ป่วยทันทีที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคระยะสุดท้าย ควรมีทักษะการสื่อสารในการแจ้งข่าวร้าย ก่อนแจ้งข่าวร้ายแพทย์ควรสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและครอบครัวควรใช้วิธีการนั่งในการแจ้งข่าวร้าย ควรแจ้งข้อมูลการวินิจฉัยโรคตามความจริง อธิบายให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค แผนการรักษา และผลข้างเคียงจากการรักษา มีการให้ข้อมูลเป็นลำดับขั้นตอนตรงกับความต้องการของผู้ป่วย ใช้เวลาที่เหมาะสมในการให้ข้อมูล ควรใช้ภาษาที่เหมาะสม มีการแสดงความเห็นอกเห็นใจให้ความหวังและกำลังใจ ควรให้โอกาสและยอมรับการเลือกแผนการรักษาของผู้ป่วยและครอบครัว เคารพการตัดสินใจของผู้ป่วย นอกจากนี้แพทย์ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิตแก่ผู้ป่วยและครอบครัว2. ผลของการแจ้งข่าวร้ายพบว่า ผู้ป่วยและครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ แผนการรักษาและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษา มีโอกาสเลือกแผนการรักษาที่เหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีโอกาสเตรียมตัวเมื่อวาระสุดท้ายมาถึงผลการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ในครั้งนี้ได้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการแจ้งข่าวร้าย และประเด็นที่ควรระมัดระวังในการแจ้งข่าวร้าย และควรมีการทำวิจัยซ้ำเกี่ยวกับการแจ้งข่าวร้ายในการดูแลแบบประคับประคองโดยเฉพาะการวิจัยเชิงทดลอง |
Description: | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218506/151354 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67420 |
ISSN: | 0125-5118 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.