Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67417
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิริรัตน์ ปานอุทัยen_US
dc.contributor.authorจิราภรณ์ เตชะอุดมเดชen_US
dc.contributor.authorชมพูนุท ศรีรัตน์en_US
dc.contributor.authorนิพนธ์ ธีรอำพนen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:46:49Z-
dc.date.available2020-04-02T14:46:49Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 82-93en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218536/151360en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67417-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมการบริโภคข้าวอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อุปกรณ์ช่วยการกำหนดปริมาณการบริโภคข้าวจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมปริมาณการบริโภคข้าวได้ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระติ๊บข้าวสำหรับควบคุมปริมาณการบริโภคข้าวในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้กระติ๊บในการควบคุมปริมาณการบริโภคข้าว กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 20 ราย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และพะเยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะการศึกษา ได้แก่ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการควบคุมระดับน้ำตาลด้วยกระติ๊บในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม 2 กลุ่มๆ ละ 6 คน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 12 คน และการพัฒนากระติ๊บโดยนำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาประกอบการพัฒนา ระยะที่ 2 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้กระติ๊บข้าวในการควบคุมปริมาณการบริโภคข้าว โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 ราย การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างทั้งสองระยะแบบสะดวกตามเกณฑ์ที่กำหนด คือฮีโมโกลบินเอวันซีมากกว่า 7% หรือน้ำตาลหลังอดอาหารและน้ำมากกว่า130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และรับประทานข้าวเหนียวอย่างน้อย 1 มื้อต่อวัน กลุ่มตัวอย่างได้รับการสอนเกี่ยวกับแนวทางการใช้กระติ๊บเพื่อควบคุมปริมาณการบริโภคข้าว และแนวทางการควบคุมปริมาณการบริโภคข้าวและใช้กระติ๊บเพื่อควบคุมปริมาณการบริโภคข้าวเป็นระยะเวลา 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ประกอบด้วยกระติ๊บข้าว และเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้กระติ๊บ 4) แบบบันทึกการบริโภคอาหาร 7 วัน และ 5) โปรแกรมนิวตริแฟกเพื่อคำนวณพลังงานจากอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาผลการศึกษาพบว่า กระติ๊บที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยสองส่วนคือ ตัวกระติ๊บสำหรับบรรจุข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวและตัวเครื่องที่มี ปุ่มปิด-เปิด ปุ่มเลือกชนิดข้าว ปุ่มหมุนเลือกมื้อข้าว ปุ่มบันทึกข้อมูลลงเครื่องจอแสดงผล ฐานวางกระติ๊บ ช่องชาร์ตแบตเตอรี่ และช่องใส่การ์ดเก็บข้อมูล ภายหลังการทดลองพบว่าปริมาณพลังงานที่ได้จากการบริโภคคาร์โบไฮเดรต ลดลงจากวันละ 783.69 กิโลแคลอรี่หรือร้อยละ 49.28 เป็น 568.42กิโลแคลอรี่หรือร้อยละ 35.73 ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมดต่อวัน ส่วนปริมาณข้าวที่บริโภคลดลง โดยข้าวเหนียวบริโภคเฉลี่ยต่อมื้อลดลงจาก 255.59 กิโลแคลอรี่เป็น 203.61 กิโลแคลอรี่ ส่วนข้าวเจ้าลดลงจาก 363 กิโลแคลอรี่เป็น 131.84 กิโลแคลอรี่ โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับพลังงานจากการบริโภคข้าวมื้อเย็นลดลงจาก294.02 กิโลแคลอรี่ เป็น 198.48 กิโลแคลอรี่ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้กระติ๊บเนื่องจากมีการป้อนข้อมูลกลับทันทีทำให้กำหนดปริมาณการบริโภคข้าวในแต่ละมื้อได้ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า กระติ๊บที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควบคุมปริมาณการบริโภคข้าวได้ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาประสิทธิผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นเบาหวานต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectกระติ๊บข้าวen_US
dc.subjectการบริโภคอาหารen_US
dc.subjectข้าวเหนียวen_US
dc.subjectผู้ที่เป็นโรคเบาหวานen_US
dc.titleการพัฒนา “กระติ๊บข้าว” สำหรับควบคุมปริมาณการบริโภคในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานen_US
dc.title.alternativeDevelopment of “Kratib Kao” for Controlling Food Consumption for Persons with Diabetesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.