Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67416
Title: | ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการทำความสะอาดมือของผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาล |
Other Titles: | Knowledge, Attitude and Practice of Hand Hygiene Among Hospitalized Patients |
Authors: | สมรรถเนตร ตะริโย วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร นงค์คราญ วิเศษกุล |
Authors: | สมรรถเนตร ตะริโย วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร นงค์คราญ วิเศษกุล |
Keywords: | ความรู้;ทัศนคติ;การปฏิบัติ;การทำความสะอาดมือ;ผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาล |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 25-37 |
Abstract: | การติดเชื้อในโรงพยาบาลอาจเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่บนมือของผู้ป่วยได้การทำความสะอาดมือของผู้ป่วยเพื่อขจัดเชื้อจุลชีพที่ปนเปื้อนบนมือจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ต่อการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการทำความสะอาดมือของผู้ป่วย รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการทำความสะอาดมือของผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ถึง 60 ปี ที่รับการรักษาในโรงพยาบาล ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 และการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจำนวน 393 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย และแบบสอบถามการทำความสะอาดมือของผู้ป่วยประกอบด้วย 4 ส่วนคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบวัดความรู้การทำความสะอาดมือ แบบวัดทัศนคติต่อการทำความสะอาดมือและแบบสอบถามการปฏิบัติการทำความสะอาดมือ ซึ่งแบบสอบถามดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงเท่ากับ .87, .94 และ .94 ตามลำดับและทดสอบเพื่อหาความเชื่อมั่นได้ค่าเท่ากับ .73, .78 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการทำความสะอาดมือของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องการทำความสะอาดมืออยู่ในระดับสูงโดยมีค่ามัธยฐานเท่ากับ11 คะแนน จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติในระดับดีต่อการทำความสะอาดมือ โดยมีค่าคะแนนมัธยฐานกับ 43 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน และมีการปฏิบัติในการทำความสะอาดมือถูกต้องในระดับปานกลาง โดยมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 28 คะแนน จากคะแนนเต็ม 45 คะแนน นอกจากนี้ยังพบว่าความรู้กับทัศนคติในการทำความสะอาดมือของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r =.366) และความรู้กับการปฏิบัติในการทำความสะอาดมือของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.121) ส่วนทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการทำความสะอาดมือของกลุ่มตัวอย่าง (r = .03)การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่าโรงพยาบาลทุกแห่งควรให้ความสำคัญกับการจัดทำโครงการส่งเสริมการทำความสะอาดมือของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อลดอุบัติการณ์การติดเชื้อในโรงพยาบาลรวมทั้งบุคลากรสุขภาพควรให้คำแนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับการทำความสะอาดมือ สร้างทัศนคติทางบวกต่อการทำความสะอาดมือและกระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติการทำความสะอาดมืออย่างถูกต้อง |
Description: | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218498/151335 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67416 |
ISSN: | 0125-5118 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.