Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67411
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กัญญาณัฐ พยัคฆ์ | en_US |
dc.contributor.author | วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร | en_US |
dc.contributor.author | นงค์คราญ วิเศษกุล | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:46:49Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:46:49Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 46,3 (ก.ค.-ก.ย. 2562) 1-13 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/218494/151333 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67411 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | องค์การอนามัยโลกได้พัฒนากลยุทธ์หลายวิธีในการส่งเสริมการทำความสะอาดมือขึ้น เพื่อให้โรงพยาบาลใช้ในการส่งเสริมการทำความสะอาดมือของบุคลากรสุขภาพ เพื่อลดการติดเชื้อในโรงพยาบาลการวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินกลยุทธ์หลายวิธี อุปสรรค และสิ่งสนับสนุนในการส่งเสริมการทำความสะอาดมือของโรงพยาบาลของรัฐ ทั้งระดับมหาวิทยาลัย ระดับศูนย์และทั่วไป กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ พยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่รับผิดชอบดำเนินกลยุทธ์หลายวิธีในการส่งเสริมการทำความสะอาดมือจำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการประเมินตนเองในการทำความสะอาดมือขององค์การอนามัยโลก ประกอบด้วยข้อคำถาม 5 ด้าน คือ การเปลี่ยนระบบการทำความสะอาดมือ การอบรมและให้ความรู้ การประเมินผลและให้ข้อมูลย้อนกลับ การเตือนในที่ทำงาน และการสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัย ซึ่งผ่านการแปลย้อนกลับและทดสอบแบบวัดซ้ำ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.98 และแบบสอบถามอุปสรรคและสิ่งสนับสนุนในการส่งเสริมการทำความสะอาดมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการจัดกลุ่มคำตอบผลการวิจัยพบว่า การดำเนินกลยุทธ์หลายวิธีในการส่งเสริมการทำความสะอาดมือในโรงพยาบาลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 61.02 อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ ระดับพื้นฐานและระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 22.03 และ 16.95 ตามลำดับ โดยโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย ร้อยละ 50 ดำเนินการได้ในระดับสูง ส่วนโรงพยาบาลระดับศูนย์และทั่วไปส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 57.14 และ 67.57 ตามลำดับ ดำเนินการได้ในระดับปานกลาง การดำเนินกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนระบบการทำความสะอาดมือทำได้ดีที่สุดโดยมีคะแนนมัธยฐาน 90 คะแนน รองลงมา ได้แก่ ด้านการเตือนในที่ทำงาน การอบรมและให้ความรู้ การประเมินผลและให้ข้อมูลย้อนกลับและการสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยในการทำงาน คิดเป็นคะแนนมัธยฐาน 72.50, 60.00,60.00 และ 50.00 คะแนน ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างทุกโรงพยาบาลมีอุปสรรคในการดำเนินการส่งเสริมการทำความสะอาดมือโดยมีอุปสรรคด้านบุคลากรมากที่สุด ได้แก่ ขาดความตระหนักและภาระงานมากรองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ ไม่มีบทลงโทษและการติดตามนิเทศ ด้านอุปกรณ์สนับสนุน ได้แก่ ผ้าหรือกระดาษเช็ดมือไม่เพียงพอ และด้านงบประมาณ ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างทุกโรงพยาบาลต้องการสิ่งสนับสนุนโดยต้องการการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์มากที่สุด ได้แก่ ผ้าหรือกระดาษเช็ดมือและแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือ รองลงมา คือ การสนับสนุนจากบุคลากร ได้แก่ การติดตามนิเทศ การมีตัวแบบที่ดี และด้านการบริหารจัดการ ตามลำดับผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้โรงพยาบาลของรัฐควรพัฒนาการดำเนินกลยุทธ์หลายวิธีในการส่งเสริมการทำความสะอาดมือในโรงพยาบาลให้ดีกว่านี้ โดยแก้ไขอุปสรรคและสนับสนุนสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้บุคลากรสุขภาพทำความสะอาดมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลดการติดเชื้อในโรงพยาบาลลง | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การดำเนินการกลยุทธ์หลายวิธีในการส่งเสริมการทำความสะอาดมือ | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลของรัฐ | en_US |
dc.title | การดำเนินกลยุทธ์หลายวิธีในการส่งเสริมการทำความสะอาดมือในโรงพยาบาลของรัฐ | en_US |
dc.title.alternative | Implementation of Multimodal Hand Hygiene Improvement Strategies in Government Hospitals | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.