Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67395
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเมธาวรรณ ชูเวชen_US
dc.contributor.authorสุรพล เศรษฐบุตรen_US
dc.contributor.authorบุศรา ลิ้มนิรันดร์กุลen_US
dc.contributor.authorประทานทิพย์ กระมลen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:45:05Z-
dc.date.available2020-04-02T14:45:05Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 36, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2563), 155-160en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/234798/161482en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67395-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และความรู้ด้านสมุนไพรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดอยจำปี 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มที่มีต่อการบริหารงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดอยจำปี 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม และความรู้ด้านสมุนไพรกับความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดอยจำปี 4) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารงานกลุ่มของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดอยจำปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดอยจำปีจำนวน 57 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า แม่บ้านเกษตรกรฯ มีอายุเฉลี่ย 55.42 ปี แม่บ้านเกษตรกรฯได้รับการศึกษาเฉลี่ย 5.45 ปี ระยะเวลาในการเป็นสมาชิกเฉลี่ย 11.80 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 3.47 คน แม่บ้านเกษตรกรฯส่วนใหญ่ร้อยละ 81 มีอาชีพหลัก แม่บ้านเกษตรกรฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 84 ไม่มีอาชีพเสริม รายได้ต่อเดือนจากกลุ่มปี พ.ศ. 25591,570.75 บาท/เดือน รายได้ต่อเดือนจากกลุ่มปี พ.ศ. 25603,596.49บาท/เดือน แม่บ้านเกษตรฯ เกินกว่ากึ่งหนึ่งคือร้อยละ 54.45 ไม่เคยกู้เงิน ได้รับข่าวสาร 1.21ครั้ง/ปี ติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 0.85ครั้ง/ปี ได้รับการฝึกอบรม 0.78ครั้ง/ปี ในระยะเวลา 1 ปีเข้าตัวเมือง 4.78ครั้ง/ปี แม่บ้านเกษตรกรฯ มีความรู้ระดับปานกลางโดยมีคะแนนความรู้ เฉลี่ย 6.36 และมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรฯทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งโดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.33 ด้านบทบาทผู้นำ มีค่าเฉลี่ย 3.96 ด้านระบบการทำงานบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ย 4.50 ด้านการติดต่อสื่อสาร มีค่าเฉลี่ย 4.44 ด้านสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ย 4.43 การศึกษาครั้งนี้พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อระดับความคิดเห็นของสมาชิกในการบริหารงานกลุ่มแม่บ้านคือ รายได้ต่อเดือนที่ได้รับจากกลุ่ม ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวก และ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรโดย มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านปัญหาและอุปสรรคการบริหารงานกลุ่มฯ พบว่าคู่แข่งทางการค้ามาก บางช่วงแม่บ้านเกษตรกรผลิตสินค้าไม่ทัน และสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่อายุมาก สมาชิกกลุ่มมีข้อเสนอแนะ ให้คิดค้นสินค้าใหม่ ๆ โดยการวางแผนการทำงานล่วงหน้า และหาสมาชิกเพิ่มในการช่วยผลิตสินค้าen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรen_US
dc.subjectความคิดเห็นของการบริหารงานกลุ่มen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของสมาชิกในการบริหารงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดอยจำปี ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativeFactors Affecting Members’ Opinions Towards Management of Doi Champi Farmer Housewife Group, Pa Sak Subdistrict, Chiang Saen District, Chiang Rai Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.