Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67389
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธีรวุฒิ จันทร์เนยen_US
dc.contributor.authorสายบัว เข็มเพ็ชรen_US
dc.contributor.authorอรวรรณ ฉัตรสีรุ้งen_US
dc.contributor.authorยุพา จอมแก้วen_US
dc.contributor.authorศักดิ์ดา จงแก้ววัฒนาen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:45:05Z-
dc.date.available2020-04-02T14:45:05Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 36, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2563), 113-121en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/234793/161485en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67389-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractการศึกษาประสิทธิภาพการใช้และการส่งถ่ายไนโตรเจน ที่สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าวได้ทำโดยวางแผนการทดลองแบบ spit plot จำนวน 3 ซ้ำ กำหนดให้ main plot เป็นพันธุ์ข้าว 2พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์หอมนิล และ sub plot เป็นอัตราของไนโตรเจน 3 ระดับ ได้แก่ 0, 15และ 30กก.ไนโตรเจน/ไร่ ผลการศึกษา พบว่า เมื่อใส่ปุ๋ ย 15 กก.ไนโตรเจน/ไร่ ประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนเพื่อสร้างเป็นน้ำหนักแห้งต้น (dry matter return) ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 สูงกว่าข้าวหอมนิลเกือบสองเท่า (30.62 และ 16.11 กก.น้ำหนักแห้ง/กก.ไนโตรเจนตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม ที่อัตราปุ๋ยไนโตรเจน 30 กก.ไนโตรเจน/ไร่ dry matter return ของข้าวสองพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนเพื่อสร้างเป็นผลผลิต (agronomic efficiency)พบว่า ข้าวหอมนิลมีแนวโน้มสูงกว่า ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เล็กน้อยโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.85 และ 7.11 กก. ผลผลิต/กก.ไนโตรเจน ตามลำดับ ผลการศึกษาการส่งถ่ายของไนโตรเจน (พลวัตไนโตรเจน) พบว่าความเข้มข้นของไนโตรเจนในราก ต้น และใบของข้าวทั้งพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และหอมนิลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากระยะแตกกอถึงระยะแป้งอ่อน โดยที่รวงมีความเข้มข้นของไนโตรเจนสูงกว่าใบ ต้น และรากโดยมีค่าสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 10.4, 7.3, 5.4และ 4.8 มก. ไนโตรเจน/ก. น้ำหนักแห้งตามลำดับอย่างไรก็ตามการใส่อัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่สูงขึ้นไม่ทำให้ความเข้มข้นของไนโตรเจนในเนื้อเยื่อข้าวส่วนต่าง ๆ เพิ่มขึ้นแต่ส่งผลให้ข้าวมีน้ำหนักแห้งของราก ต้น ใบ และรวงที่มากขึ้น แสดงให้เห็นว่าความเข้มข้นของไนโตรเจนในเนื้อเยื่อของข้าวไม่มีความสัมพันธ์กับผลผลิตของข้าว ในส่วนของผลผลิตพบว่าข้าวทั้งสองพันธุ์ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และตอบสนองต่อปุ๋ ยไนโตรเจนในทิศทางเดียวกัน โดยการให้ปุ๋ยไนโตรเจนที่อัตรา 30 กก.ไนโตรเจน/ไร่ ข้าวให้ผลผลิตมากที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 420.5กก./ไร่en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectข้าวขาวดอกมะลิ 105en_US
dc.subjectข้าวหอมนิลen_US
dc.subjectประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนen_US
dc.subjectการส่งถ่ายไนโตรเจนen_US
dc.titleประสิทธิภาพการใช้และการส่งถ่ายไนโตรเจนที่สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์หอมนิลen_US
dc.title.alternativeNitrogen Use Efficiency and Partitioning in Relation to Growth and Yield of Rice cv. Khao Dawk Mali 105 and cv. Homnilen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.